ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารครัวเรือบินของผู้บริโภคในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19

ผู้แต่ง

  • พรชัย พิชิตชาญชัยสกุล บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยทองสุข
  • วรศักดิ์ ทองศิริ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยทองสุข
  • ภัทรฤทัย เกณิกาสมานวรคุณ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยทองสุข

คำสำคัญ:

ปัจจัยการตัดสินใจ, เลือกใช้บริการ, ร้านอาหาร, ครัวเรือบิน, สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารครัวเรือบินของผู้บริโภคในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 (2) ความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารครัวเรือบิน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนผู้บริโภคที่เลือกใช้บริการร้านอาหารครัวเรือบิน กลุ่มตัวอย่าง 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 21-30 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท และมีอาชีพพนักงานเอกชน ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารครัวเรือบินของผู้บริโภคในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 โดยรวมอยู่ในระดับมาก

ความสัมพันธ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารครัวเรือบิน พบว่า มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์การตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารครัวเรือบินของผู้บริโภคด้วยวิธีการถดถอยพหุคูณ พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ มีค่าเท่ากับ .476 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 และสมการพยากรณ์ร้อยละ 42.3 ผลการทดสอบสมมติฐาน การตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารครัวเรือบิน พบว่า มีความสอดคล้องในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00

References

เจติยา สกุลปั่น และวิชากร เฮงษฎีกุล. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการ Food Delivery ของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรสาคร. Journal of Modern Learning Development, 7(2), 317-332.

ณัฐศาสตร์ ปัญญานะ และวัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการอาหารตามสั่งแบบจัดส่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ.มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11(1), 53-66.

ณิชาภัทรา จันทร์ดารา, ธำรงค์ เมฆโหรา และปัญญา หมั่นเก็บ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารที่มีเครื่องหมาย “อาหารสะอาด รสชาติอร่อย” ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 34(1), 48-58.

พัทธนิติ เหลืองวิลัย. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการใช้บริการร้านเคเอฟซี จังหวัดเพชรบุรี. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด)

ระวิวรรณ เวียงตา. (2561). การรับรู้คุณค่าผลิตภัณฑ์ความพึงพอใจในการส่งเสริมการขาย และค่านิยมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ ใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่น Grab (Grab Food). (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

วัฒนะ สุขขวัญ. (2563). ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อร้านอาหารที่ปรับตัวในช่วงวิกฤต covid-19 ในเขตกรุงเทพมหานคร. (ค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

วัลย์ลดา ทองเย็นบุริศร์. (2564). ปัจจัยการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนในสถานการณ์ของโควิด 2019. วารสาร มจร เลย ปริทัศน์, 2(2), 50-62.

ศฐิฒฎา ธารารัตนสุวรรณ. (2563). ผลกระทบเชื้อไวรัส COVID-19 ต่อวิกฤตการท่องเที่ยวของประเทศไทย (Impact of COVID-19 on Tourism Sector in Thailand). สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2564. จาก https://www.senate.go.th/document/Ext24365/24365130_0002.PDF.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). การแข่งขันแอปพลิเคชั่นสั่งอาหาร. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2564, จาก https://workpointnews.com/2019/06/04/kasikorn-food-delivery.

สัณห์จุฑา จํารูญวัฒน์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารประเภทฟูดทรัก (Food Truck) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

สิริลักษณ์ แสงทอง และกรเอก กาญจนาโภคิน. (2563). การจัดการตลาดเครื่องดื่มปราศจากน้ำตาลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 4(1), 51-62.

สุพริศร์ สุวรรณิก. (2564). ธุรกิจร้านอาหาร… เราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน. สืบค้นเมื่ 18 กันยายน 2564. จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_12Jun2021.aspx.

สุวัชร์ ธนะโสธร, สุกิจ ขอเชื้อกลาง, อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า และศิริชัย พงษ์วิชัย. (2561). ความคาดหวังและการรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทสารสกัดจากพืชของบริษัทที่ประสบผลสำเร็จในประเทศไทย. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(3), 26-37.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-23