การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทรัพยากรบุคคลที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการสรรหาบุคลากรของบริษัท แอลพีเอส บิซิเนสกรุ๊ป จำกัด
คำสำคัญ:
การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล, ประสิทธิภาพ, การสรรหา, บุคลากรบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลบุคคลที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการสรรหาบุคลากรของบริษัท แอลพีเอส บิซิเนสกรุ๊ป จำกัด (2) ความสัมพันธ์การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลบุคคลที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการสรรหาบุคลากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มพนักงาน เจ้าหน้าที่และหัวหน้างาน ประจำสำนักงานเขตพื้นที่ เขตระยอง เขตชลบุรี เขตกรุงเทพมหานคร-สมุทรปราการของบริษัท แอลพีเอส บิซิเนส กรุ๊ป จำกัด จำนวน 161 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 21-30 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 25,001-35,000 บาท และมีประสบการณ์ในการทำงาน 1-3 ปี ผลการวิเคราะห์ปัจจัยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสรรหาบุคลากรที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการสรรหาบุคลากรของบริษัท แอลพีเอส บิซิเนสกรุ๊ป จำกัด โดยรวมอยู่ในระดับมาก
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสรรหาบุคลากรด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พบว่า มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสรรหาบุคลากรด้วยวิธีการถดถอยพหุคูณ พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ มีค่าเท่ากับ 0.437 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 และสมการพยากรณ์ร้อยละ 42.9 ผลการทดสอบสมมติฐาน ปัจจัยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสรรหาบุคลากร พบว่า มีความสอดคล้องในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00
References
พัชราภา โพธิ์อ่อง. (2561). เทคโนโลยีดิจิทัลทรัพยากรบุคคล (Digital HR) กับการเพิ่มประสิทธิภาพการสรรหาบุคลากรในองค์กรธุรกิจค้าปลีก. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ภัสสรา เปรมประเสริฐ. (2563). การประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการสมัครเข้าทำงานของนิสิตนักศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัย มทร. พระนคร, 5(2), 65-77.
ภานุวัฒน์ กลับศรีอ่อน. (2558). ปัจจัยความสำเร็จของการสรรหาบุคลากรผ่านระบบออนไลน์. สืบค้น 16 มกราคม 2564. จาก https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/jan_june_15/pdf/aw12.pdf.
เยเซ่ต์ ดาลลอล. (2559). Digital HR คืออะไร. สืบค้น 16 มกราคม 2564. จาก https: //www.techtalkthai.com/oracle-what-is-digital-hr/.
สาวิตรี พรหมรักษา และ ดารณี เอื้อชนะจิต. (2563). อิทธิพลของกระบวนการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อคุณภาพของสารสนเทศทางการบัญชีและประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กร. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 27(4), 155-169.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). (2558). การรู้ดิจิทัล (Digital literacy). สืบค้น 16 มกราคม 2564. จาก https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/142-knowledges/2632.
สุพรรณี รัตนโรจน์มงคล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานธนาคารของรัฐขนาดใหญ่. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
Dimple Agarwal, Josh Bersin, Gaurav Lahiri, Jeff Schwartz, Erica Volini. (2018). AI, Robotics, and automation: Put humans in the loop. Retrieved 16 January 2021. from https://www2.deloitte.com/insights/us/en/focus/human-capital trends/2018/ai-robotics-intelligent-machines.html.
Hewitt Associates. (2010). Hewitt Engagement Survey. Retrieved 16 January 2021. from https://ceplb03.hewitt.com/bestemployers/turkey/pages/emp_eng.html.
Oracle. (2016). From Theory to Action: A Practical Look at What Really Drives Employee. Retrieved 16 January 2021. from https://www.oracle.com/webfolder/s/delivery_production/docs/FY16h1/doc31/OracleHCMGlobalSurveyiPaperV12RG.pdf.