ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารในสถานศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • พระครูปริยัติคุณรังษี สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย
  • อาทิตย์ แวงโส สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย
  • ส่งสุข ภาแก้ว สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ผู้บริหารในสถานศึกษา, ยุคศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอองค์ความรู้วิชาการด้านผู้นำ ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กร ผู้นำเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลในการบังคับบัญชามอบหมายในกำกับดูแลให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร และผู้นำจำเป็นต้องติดต่อประสานงานกับบุคคลอื่นอยู่เสมอ การจัดการเรียนการสอนนั้น จำเป็นต้องอาศัยผู้นำที่มีความรอบรู้ทางด้านวิชาการ ทั้งนี้ เนื่องจากผู้บริหารสถานศึกษาที่มีภาวะผู้นำทางวิชาการย่อมสามารถบริหารปรับปรุง พัฒนาและส่งเสริมวิชาการให้ได้ผลดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะการจัดการศึกษาด้านวิชาการนับเป็นงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่าการบริหารวิชาการนั้นเป็นการสร้างผู้เรียนให้มีคุณภาพ มีความรู้ มีจริยธรรม และมีคุณสมบัติตามที่ต้องการ งานวิชาการเป็นงานสร้างคุณภาพของผู้เรียนในเชิงคุณภาพและปริมาณ การบริหารงานวิชาการจะประกอบด้วยการพัฒนาหลักสูตร การดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอน การจัดตารางสอน การจัดชั้นเรียน การจัดครูเข้าสอน การปรับปรุงการเรียนการสอนเพื่อเป็นการพัฒนาครูผู้สอนให้ก้าวทันวิทยาการเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้เข้ายุคในศตวรรษที่ 21 ทั้งนี้เพื่อก้าวสู่ความสำเร็จของงานทางด้านวิชาการอย่างแท้จริง

References

กรรณิกา กันทำ. (2561). ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(2), 18-29.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

จรุงจิต สมบัติวงศ์. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา. Journal of Roi Kaensarn Academi, 3(2), 17-32.

ชิรยุตน์ วงศ์ยุทธรัตน์, วรสิทธิ์ รัตนวราหะ, ชูเกียรติ วิเศษเสนา, และชวลิต เกตุกระทุ่ม. (2561). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นําสําหรับศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันตก. วารสารบัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 11(2), 14-25.

ธีรศักดิ์ อุปรนัย, อุปไมย อธิชัย และคณะ. (2563). การบริหารและการจัดการศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พรชัย เจดามา. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงศตวรรษที่ 21: ไทยแลนด์ 4.0. สืบค้น 30 เมษายน 2565. จาก https://www.kroobannok.com/83312.

พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). ภาวะผู้นำ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

พระมหาอุดร อุตตฺโร, ทองดี ศรีตระการ และ พระณัฐพงษ์ ญาณเมธี (ไกรเทพ). (2561). ภาวะผู้นำ : การบริหารวิชาการสู่การศึกษายุค 4.0. วารสารปัญญาปณิธาน, 3(1), 42-53.

มัลลิกา ต้นสอน. (2545). การจัดการยุคใหม่. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2544). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: ธนรัชการพิมพ์.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2551). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้า.

วรรณวิษา ไชชลาแสง. (2551). การศึกษาภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อทีมงานที่มีประสิทธิภาพของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 1-7. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา).

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ.

สงวน นิตยารัมภ์พงศ์. (2540). ภาวะผู้นำความสำคัญต่ออนาคตไท. กรุงเทพฯ: พิมพ์ไทย.

สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา. (2547). เอกสารประกอบการสัมมนาประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำหลักสูตรผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. นครปฐม: โรงพิมพ์ ส. ประจักษ์.

สมยศ นาวีการ. (2544). การบริหาร Management. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

สมหมาย อ่ำดอนกลอย. (2556). บทบาทผู้บริหารศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 7(1), 1-7.

สะอูดี สาซู. (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามคิดเห็นของครูในอำเภอรองจิกจังหวัดปัตตานี. (การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา).

สุรพงศ์ สุทธิศักดา. (2551). ความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูสังกัดเทศบาลนครยะลา. (สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

Seyfarth, J. T. (1999). The principal: New leadership for new challenger. New Jersey: Prentice-Hall.

Trusty, F. M. (1986). Administrator/ Supervisor Career Ladder Orientation Manual. Nashville Tennessee: Tennessee Department of Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ