การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูพานน้อยอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • จิราพร พลสิทธิ์ นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • สุปัน สมสาร์ อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

การจัดการ, แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, ภูพานน้อย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูพานน้อย (2) เปรียบเทียบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูพานน้อย และ (3) เสนอแนวทางการส่งเสริมการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูพานน้อยอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู รูปแบบวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชากรที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อยู่ในบริเวณพื้นที่แหล่งท่องเที่ยงเชิงนิเวศภูพานน้อย คำนวณตามสูตรการคำนวณของทาโร ยามาเน่ จำนวน 321 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T - test และ F - test สำหรับเปรียบเทียบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูพานน้อย อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ

ผลการศึกษา พบว่า การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูพานน้อย อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม รองลงมาคือด้านการส่งเสริมการลงทุน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการให้การศึกษาและสร้างจิตสำนึก

ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูพานน้อย อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู  โดยภาพรวมประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูพานน้อย ไม่แตกต่างกัน

แนวทางการส่งเสริมการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูพานน้อย อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ได้แก่ ควรมีการประชาสัมพันธ์ที่ดี และแนะนำประชาชนให้มีส่วนร่วม

References

กรมการท่องเที่ยว. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: พีดับบลิว ปริ้นติ้ง.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2561). แนวคิดคู่มือปฏิบัติงานสภาตำบล และ อบต. กรุงเทพฯ: สหมิตรพรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2557). คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

ณัฐทิตา โรจนประศาสน์ และคณะ. (2558). บทเรียนของชาวประมงพื้นบ้านในการดำเนินงานธุรกิจสัตว์น้ำสีเขียวและฟื้นฟูสัตว์น้ำในแหล่งหญ้าทะเลชุมชนเกาะมุกด์จังหวัดตรัง. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 57(4), 174-196.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พจนา สวนศรี. (2554). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.

พัชรินทร์ จึงประวัติ. (2561). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดนครนายก. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 19(35), 64-76.

รุ้งตะวัน เกิดโภคา. (2553). แนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของจังหวัดอุทัยธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

ศรัณย์ ฐิตารีย์ และสุรศักดิ์ โตประสี. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสารสนเทศ, 16(1), 141-150.

Barzekar, G., Aziz, A., Mariapan, M., & Ismail, M. H. (2011). Delphi technique for generating criteria and indicators in monitoring ecotourism sustainability in Northern forests of Iran: Case study on Dohezar and Sehezar Watersheds. Folia Forestalia Polonica, series A, 53(2), 130–141.

Goodwin, H., & Santilli, R. (2009). Community-based tourism: A success. ICRT Occasional paper, 11(1), 37.

Ryan, C., & Aicken, M. (Eds.). (2005). Indigenous tourism: The commodification and management of culture. Elsevier.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rdEd). New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-01