บทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1

ผู้แต่ง

  • ประมวล อุ่นเรือน สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

บทบาท, ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ จำแนกตามเพศ อายุ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดสถานศึกษา และ (3) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน จำนวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.793 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test และ F-test

ผลการศึกษา พบว่า บทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์เชิงสร้างสรรค์ ด้านผู้นำที่มีความคิดความเข้าใจระดับสูง ด้านการนำปัจจัยต่างๆ มากำหนดกลยุทธ์ ด้านวิธีคิดเชิงปฏิวัติเพื่อการเปลี่ยนแปลง และด้านความคาดหวังและการสร้างโอกาสสำหรับอนาคต ตามลำดับ

ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ จำแนกตามเพศ อายุ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน จำแนกตามอายุ แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนจำแนกตามเพศ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดสถานศึกษา ไม่แตกต่างกัน

แนวทางในการพัฒนาบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 ได้แก่ ผู้บริหารควรส่งเสริม สนับสนุน การกำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ เป้าหมาย แผนงานโครงการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ

References

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2537). นวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ณัฐวุฒิ ภารพบ. (2553). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดภาคใต้. (วิทยานิพนธ์คึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยทักษิณ).

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2550). การจัดการสมัยใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

ภารดี อนันต์นาวี. (2551). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มนตรี, มิเกล กาไรซาบาล.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2548). ผู้บริหารโรงเรียน: สามมิติการพัฒนาวิชาชีพสู่ความเป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

พิบูล ที่ปะปาล. (2550). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. (2563). แผนกลยุทธ์แผนการศึกษา ปีงบประมาณ2560 - 2564. หนองบัวลำภู: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. (2565). ข้อมูลพื้นฐาน. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู. หนองบัวลำภู: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2548). ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ: ส.เอเชียเพรส.

สุนิสา ตั้งตระกูล. (2560). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี).

สุรีย์มาศ สุขกสิ และคณะ. (2554). การศึกษาความต้องการในการพัฒนาภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง จันทบุรี และตราด. จันทบุรี: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

Hitt, M. A, Ireland, R. D and Hoskisson, R. E. (2007). Management of Strategy: Concepts and Cases. China: Thomson South-Wettern.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-09