ปัจจัยของการตัดสินใจเลือกตรวจความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารกในครรภ์ ด้วยเทคนิค NIPS (Non Invasive Prenatal Screening)

ผู้แต่ง

  • อคิน เหมะธุลิน นิสิตระดับปริญญาโท หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • สุมาลี พุ่มภิญโญ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

หญิงตั้งครรภ์, ความผิดปกติทางพันธุกรรม, ส่วนประสมทางการตลาด, การตรวจก่อนคลอด, NIPS

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ต้องการทราบถึงข้อมูลทางประชากรศาสตร์ของกลุ่มผู้ที่เลือกตรวจ NIPS (2) ต้องการศึกษาว่าปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตรวจ NIPS การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยมีเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถามจากหญิงตั้งครรภ์ที่เลือกตรวจ NIPS จำนวน 350 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษา พบว่า ประชากรศาสตร์ของกลุ่มผู้เลือกตรวจ NIPS ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุระหว่าง 31-45 ปี เลือกตรวจตอนอายุครรภ์เฉลี่ย 12 สัปดาห์ ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจต่อการเลือกตรวจ คือ ตนเอง อีกทั้งระดับความคิดเห็นที่มากที่สุดในปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด คือ ด้านกระบวนการให้บริการทางการแพทย์ และระดับความคิดเห็นที่มากที่สุดของปัจจัยคุณภาพและบริการ คือ ความเชื่อถือไว้วางใจ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกตรวจ NIPS ทางด้านส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกตรวจมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านราคาและโปรโมชั่น ส่วนปัจจัยทางด้านคุณภาพและบริการที่ส่งผลต่อการเลือกตรวจมากที่สุด คือ ความเป็นรูปธรรมของบริการ ความน่าเชื่อถือ และการให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. สืบค้น 15 สิงหาคม 2464. จาก https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/anc12?year=2020.

กระทรวงสาธารณะสุข. (2561). กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. สืบค้น 23 กันยายน 2564. จาก https://www3.dmsc.moph.go.th/post-view/424.

จันทนา รักษ์นาค. (2554). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์).

สิริกาญจน์ กมลปิยะพัฒน์. (2556). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

อลงกลด แทนออมทอง. (2554). พันธุศาสตร์เซลล์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Grandview Research. (2021). Non Invasive Prenatal Testing Market Size, Share & Trends Analysis Report By Gestation Period, By Pregnancy Risk, By Method, By Technology, By Product, By Application, By End-use, By Region, And Segment Forecasts, 2022 – 2030. Retrieved 15 September 2022. from https://www.grandviewresearch.com/industry-analysis/noninvasive-prenatal-testing-market#.

Krejcie, R.V.&Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Mai, C. T., Isenburg, J. L., Canfield, M. A., Meyer, R. E., Correa, A., Alverson, C. J., ... & National Birth Defects Prevention Network. (2019). National population‐based estimates for major birth defects, 2010–2014. Birth defects research, 111(18), 1420-1435.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-19