กระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนามนุษย์ตามหลักไตรสิกขาและมรรคมีองค์ 8
คำสำคัญ:
กระบวนการเรียนรู้, ไตรสิกขา, อริมรรคมีองค์ 8บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเสนอกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนามนุษย์ตามหลักไตรสิกขาและอริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งเป็นหลักพุทธธรรมที่สำคัญในพระพุทธศาสนา ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการเรียนรู้หรือกระบวนการศึกษาตามหลักไตรสิกขานั้นคือ ข้อที่จะต้องศึกษา ฝึกหัดอบรมกายวาจา ใจและปัญญาให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุพระนิพพาน ประกอบไปด้วย 1) ฝึกอบรมด้านความประพฤติตามวินัย ความสุจริตทางกาย วาจาและอาชีพ เรียก อธิศีลสิกขา 2) การฝึกอบรมทางจิตใจ การปลูกฝังคุณธรรมและการสร้างสุขภาพจิต เรียกอธิจิตสิกขา 3) การฝึกอบรมทางปัญญา ให้เกิดความรู้ เข้าใจในสิ่งทั้งปวงตามเป็นจริง รู้เท่าทันความเป็นไปของโลกและชีวิต เรียก อธิปัญญาสิกขา
ส่วนกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนามนุษย์ตามหลักอริยมรรคมีองค์ 8 นั้นคือ อริยมรรคเป็นทางดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ที่ทำให้บุคคลเป็นอริยบุคคล ได้แก่ มีความเห็นถูกตามครองธรรม มีความดำริชอบ ไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น มีการแสดงออกทางวาจาที่สุจริต มีการกระทำที่ดีงามสุจริต ประกอบอาชีพสุจริต ไม่ก่อความเดือดร้อนเสียหายแก่คนอื่น มีความเพียร ขจัดความชั่วอกุศลที่เกิดขึ้นให้หมดไปและเพียรเพิ่มกุศลให้เกิดในตน มีสติกำกับตัวเองขณะกระทำสิ่งใด เอาใจใส่ไม่ละเลย ไม่ปล่อยให้สิ่งเย้ายวนมาฉุดกระชากสติตนเอง ความมีจิตตั้งมั่นในกิจการงาน จิตสงบไม่ฟุ้งซ่านหวั่นไหว เป็นจิตเข้มแข็ง พร้อมจะใช้งานด้วยปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ
References
โชติเวชญ์ อึ้งเกลี้ยง. (2563). ว่าด้วยเรื่อง การเรียนรู้ของมนุษย์และขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมด้วยนวัตกรรมทางสังคม. วารสารพัฒนศาสตร์, 3(2), 113-142.
ทิศนา แขมมณี. (2550). การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้ เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระเทพโสภณ (ประยูร ธมมจิตโต). (2547). ขอบฟ้าแห่งความรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระปลัดสุรเชษฐ์ สุรเชฏฺโญ. (2561). การศึกษากับการพัฒนาความเป็นมนุษย์. วารสารวิชาการ สถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 1(2), 81-92.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2556). ปรัชญาการศึกษาของไทย ภาคพุทธธรรม: แกนนำการศึกษา. กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์ ในเครือเพ็ตแอนด์โฮม จำกัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชปวราจารย์ (ณรงค์ จิตตโสภโณ). (2560). พุทธศาสตร์ปริทรรศน์ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พุทธทาสภิกขุ. (2518). การศึกษาสมบูรณ์แบบ. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
มาโนช ตัณชวนิชย์. (2535). การศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
วีณา ประชากูล และ ประสาท เมืองเฉลิมม. (2559). รูปแบบการเรียนรู้การสอน. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
สิน งามประโคน. (2558). การพัฒนาพระสงฆ์ตามหลักพระธรรมวินัย: องค์ความรู้เพื่อการบริหารคณะสงฆ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2530). การสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ. กรุงเทพฯ: โครงการตำรา คณะครุศาสต์ จุฬาฯ ร่วมกับ โรงพิมพ์โอเดิ้ยนสโตร์.
สุมานพ ศิวารัตน์. (2560). การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยไตรสิกขา. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 8(1), 36-48.
Dewey, J. (1956). The child and the curriculum (1902). John Dewey: The Middle Works, 2, 1882-1953.
Dollard, J., & Miller, N. E. (1950). Personality and psychotherapy; an analysis in terms of learning, thinking, and culture. New York: McGraw-Hill..
Lave, J. (1996). Teaching, as Learning, in Practice. Mind Culture and Activity, 3(3), 149-164.