รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของศูนย์เครือข่ายการศึกษาที่ 12 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 2

ผู้แต่ง

  • ณัฐพงศ์ สงแก้ว สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • สามิตร อ่อนคง สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • บุญเลิศ วีระพรกานต์ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ชุมชนท้องถิ่น, การส่งเสริมพัฒนาการ, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ของศูนย์เครือข่ายการศึกษาที่ 12 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 2 และ (2) ศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ของศูนย์เครือข่ายการศึกษาที่ 12 วิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน การสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ผลการศึกษา พบว่า การศึกษาสภาพ ผู้วิจัยได้ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ของศูนย์เครือข่ายการศึกษาที่ 12 ประกอบด้วยขั้นตอนการศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การใช้แหล่งเรียนรู้ของชุมชนท้องถิ่น 2) การร่วมกันกำหนดหลักสูตร 3) การเป็นวิทยากรในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 4) การร่วมเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ของศูนย์เครือข่ายการศึกษาที่ 12 ใช้รูปแบบการดำเนินงานการพัฒนาเด็กปฐมวัยผ่าน 6 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1) กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 2) กิจกรรมเสริมประสบการณ์ 3) กิจกรรมสร้างสรรค์ 4) กิจกรรมเสรี 5) กิจกรรมกลางแจ้ง และ 6) กิจกรรมเกมการศึกษา

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จันทร กำภัคสร. (2557). การศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารกิจกรรม พัฒนาผู้เรียน ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยาเขต 2. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา).

จันรอล เงินคำ. (2553). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษา. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ชุลีพร อร่ามเนตร. (2560). ลงทุนคุ้มค่าเริ่มที่ “เด็กปฐมวัย”. สืบค้น 17 สิงหาคม 64. จาก https://www.komchadluek.net/general-knowledge/349279.

ดวล ปั่นสันเทียะ. (2555). ผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ทัศนีย์ นาคุณทรง. (2553) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

ไพเราะ กาญจนสิงห์. (2555). แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองแม่สอด. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร).

รุ่งทิพย์ เข็มทิศ. (2559). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเรียนกับชุมชนโรงเรียนเทศบาลแฉลมฉบัง 3 อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. (การศึกษาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

รุ่งทิพย์ เข็มทิศ. (2559). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเรียนกับชุมชนโรงเรียนเทศบาลแฉลมฉบัง 3 อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ศิริบงกช เหรียญทอง. (2557). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี).

อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ. (2561) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในตำบลท่าแค จังหวัดลพบุรี. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 36(3), 45-65.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-04