การบริหารหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร

ผู้แต่ง

  • พีระ เหมือดนอก สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • พระครูประโชติกิจจาภรณ์ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • บุญเลิศ วีระพรกานต์ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การบริหารหลักสูตร, ทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ, การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตในสหวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร และ (2) เพื่อศึกษาและนำเสนอแนวทางการบริหารหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การศึกษาสภาพจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน ผู้ให้ข้อมูลเชิงลึก จำนวน 5 คน และสนทนากลุ่มจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า สภาพการบริหารหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของสภานศึกษาในสหวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร มีการดำเนินการบริหารหลักสูตร 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การวางแผนและการเตรียมความพร้อมในการใช้หลักสูตร 2) การดำเนินการใช้หลักสูตร และ 3) การนิเทศติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร ส่วนแนวทางการบริหารหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกอบด้วย 1) หลักสูตรภาษาอังกฤษที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2) แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร 3) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ 4) การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 5) การจัดการเรียนการสอนแบบภาษาที่เน้นเนื้อหา 6) การสอนภาษาแบบองค์รวม ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบแนวทางการบริหารหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร พบว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ เป็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางสถานศึกษา 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). Official Languages of the UN. สืบค้น 1 กันยายน 2564. จาก https://secretary.mots.go.th/interaff/news_view.php?nid=159.

กัลยาณี ภู่เจริญ. (2564). การสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21:จากอดีตจนถึงปัจจุบัน. สืบค้น 3 กันยายน 2564. จาก https://rb.gy/15zg5.

จิตรา ธงพานิช. (2556). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎี หลักการ แนวคิด ทิศทาง แนวโน้ม. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

ชมพู อิสริยวัฒน์. (2560). การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับพ่อค้า แม่ค้า เจ้าหน้าที่ตำบลหนองกี่ อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์. รมยสาร, 15(2), 231-244.

วิจารณ์ พาณิช. (2555). การศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของคนไทยที่พึ่งประสงค์: เชาวน์ทางปัญหา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. (2564). กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. สืบค้น 2 กันยายน 2564. จาก https://www.asean.org/wp-content/uploads/images/archive/AC-Thai.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสารการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางกรศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อมรรัตน์ เตชะนอก, รัชนีจรุงศิรวัฒน์ และ พระฮอนด้า วาทสทฺโท. (2563). การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 1-15.

อรรชนิดา หวานคง. (2559). การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันวิจัยณาณสังวร, 7(2), 303-314.

อลิษา สืบสิงห์. (2558). การศึกษาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(3), 361-369.

อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด. (2561). การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 10(1), 31-45.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-27