แนวทางการขับเคลื่อนสถานศึกษาพอเพียงเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ของโรงเรียนในสหวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร

ผู้แต่ง

  • สรศักดิ์ ชิตเชื้อ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • มะลิวัลย์ โยธารักษ์ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • บุญเลิศ วีระพรกานต์ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การขับเคลื่อนสถานศึกษา, ศูนย์การเรียนรู้, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, การศึกษา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร และ (2) ศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนสถานศึกษาพอเพียงเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน และจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า สภาพการบริหารสถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร พบว่าสภาพการบริหารงานของสถานศึกษาพอเพียง ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านการพัฒนาบุคลากร และด้านผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ ตามลำดับ แนวทางการขับเคลื่อนสถานศึกษาพอเพียงเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร โดยมีแนวทาง คือ การสร้างความตระหนัก ให้ความสำคัญ และส่งเสริมการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การบริหารจัดการสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม เหมาะสมกับภูมิสังคม และมีการประเมินผลการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

References

กฤษดา นิ่มทับทิม. (2561). การศึกษาผลการดำเนินงานของสถานศึกษาพอเพียงในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์).

ปรียานุช ธรรมปิยา. (2558). การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา (พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2557). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.

ภูวดล จุลสุคนธ์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามศาสตร์พระราชา กรณีศึกษา “สถานศึกษาพอเพียง” ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดลพบุรี (รายงานการวิจัย). ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2548). เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานศึกษาธิการภาค 1. (2561). รายงานผลการประเมินสถานศึกษาพอเพียงเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561. ปทุมธานี: สำนักงานศึกษาธิการภาค 1 สำนักงานปลัดกระทวงศึกษาธิการ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-26 — Updated on 2023-06-29

Versions