แนวทางการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้วยกิจกรรมพ่อครูแม่ครู ของโรงเรียนกรุงหยันวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การดูแลช่วยเหลือนักเรียน, นักเรียนกลุ่มเสี่ยง, โรงเรียนบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนกรุงหยันวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช และ (2) แนวทางและนำเสนอแนวทางการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้วยกิจกรรมพ่อครูแม่ครูของโรงเรียนกรุงหยันวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช วิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดย การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 15 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มบริหารงานตามโครงสร้างของโรงเรียน ตัวแทนครู ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้างานบริหารทั่วไป ศึกษานิเทศก์ หัวหน้ากลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน ตัวแทนครู การสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน ประกอบด้วย หัวหน้าศูนย์ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมอำเภอทุ่งใหญ่ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน ประธานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา(พสน.) อำเภอทุ่งใหญ่ ครูแนะแนว ตัวแทนครู ผลการศึกษา พบว่า สภาพการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนกรุงหยันวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2) การคัดกรองนักเรียน 3) การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน 4) การป้องกันและแก้ไขปัญหา 5) การส่งต่อ แนวทางการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้วยกิจกรรมพ่อครูแม่ครูของโรงเรียนกรุงหยันวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ซึ่งมี 9 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมรับลูกเข้าครอบครัวมอบตัวเป็นลูกพ่อครูแม่ครู 2) กิจกรรม MOU สัญญาใจ 3) กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน 4) กิจกรรมเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา 5) กิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน 6) กิจกรรมสานสัมพันธ์ครอบครัว 7) กิจกรรมดาวประดับฟ้า 8) กิจกรรมรู้เขารู้เรา 9) กิจกรรมมาลาบูชาคุณ และผลการนำเสนอแนวทางการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้วยกิจกรรมพ่อครูแม่ครูของโรงเรียนกรุงหยันวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช มีความเป็นไปได้ มีความเหมาะสม และเป็นประโยชน์
References
การุณ เชิดชู. (2557). การพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนพร้าววิทยาคม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. (ศึกษาศาสตรมหาบันฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
จรินทร มณีนุ่ม. (2555). การปรับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เหมาะสมกับโรงเรียนขนาดเล็กกรณีศึกษา: โรงเรียนวัดทำใหม่. (ครุศาสตรมหาบันฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา).
จิรัฐิพร จีนสายใจ. (2557). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม. (ศึกษาศาสตรมหาบันฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
ปราณี เตยอ่อน และ วรกาญจน์ สุขสดเขียว. (2560). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดเจ็ดริ้ว (สาครกิจโกศล). วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 7(2), 37-44.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ.
อรวรรณ ล่องลือฤทธิ์. (2563). คู่มือการปฏิบัติงานพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. ชุมพร: กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต 2.
Cheney, D., & Morris, T. (2017). Programs and Services for Students with Emotional Or Behavioral Disorders in the United States. New York: Oxford University Press.
Gunderson, J. (2000). Family group conference: An innovative approach to truancy in schools. A case study. (Doctor of Education: University of Southern California).
Johnson, D. L. (2003). Significant factors influencing an effective school counseling program. (Doctoral dissertation, Walden University).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.