ความรอบรู้ และแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพฤติกรรมในป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID19 และการส่งเสริมสุขภาพในยุควิถีชีวิตใหม่ภายใต้อยุธยาโมเดล
คำสำคัญ:
ความรอบรู้, แรงจูงใจ, พฤติกรรมในป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID19, การส่งเสริมสุขภาพ, วิถีชีวิตใหม่บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) ความรอบรู้ แรงจูงใจ และการคงอยู่ของพฤติกรรม (2) หาความสัมพันธ์ของความรอบรู้ แรงจูงใจ และการคงอยู่ของพฤติกรรม (3) อิทธิพลของความรอบรู้และแรงจูงใจต่อการคงอยู่ของพฤติกรรมในป้องกันการแพร่ระบาดของโรค covid19 และการส่งเสริมสุขภาพในยุควิถีชีวิตใหม่ภายใต้อยุธยาโมเดล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทำนาย ประยุกต์กรอบแนวคิดความรอบรู้ของ Nutbeam (2008) และแรงจูงใจ Roger (1975) กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานในสถานประกอบการในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นได้ 398 ราย เก็บข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2565 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรอบรู้ แบบสอบถามพฤติกรรมในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย วิเคราะห์ความสัมพันธ์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน และวิเคราะห์อำนาจการทำนาย โดยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า ความรอบรู้เกี่ยวกับโรค covid19 ทั้ง 6 ทักษะ มีค่าเฉลี่ยคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีทักษะด้านการเข้าใจ ทักษะการสื่อสาร และทักษะการตัดสินใจอยู่ในระดับมากที่สุด แรงจูงใจและพฤติกรรมในป้องกันการแพร่ระบาดของโรค covid19 และการส่งเสริมสุขภาพในยุควิถีชีวิตใหม่อยู่ในระดับมากที่สุด การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่า ความรอบรู้และแรงจูงใจมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมในป้องกันการแพร่ระบาดของโรค covid19 และการส่งเสริมสุขภาพในยุควิถีชีวิตใหม่ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน เท่ากับ r = 0.395, p<0.001 และ r = 0.638, p<0.001 ตามลำดับ การวิเคราะห์อำนาจการทำนายตัวแปร พบว่า ความรอบรู้ และแรงจูงใจ เป็นตัวแปรที่ร่วมพยากรณ์ได้ร้อยละ 44.9 โดยแรงจูงใจมีน้ำหนักในการพยากรณ์สูงสุด (β = 0.606, p<0.001) และความรอบรู้ (β =0.108, p<0.001)
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคโควิด19 ในสถานประกอบการ/โรงงาน. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2565). ผลกระทบและทิศทางของภาคอุตสาหกรรมหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19. สืบค้น 1 ตุลาคม 2565. จาก https://www.oie.go.th/assets/portals/1/fileups/2/files/ArticlesAnalysis/Direction_industry_after_COVID-19.pdf.
กัมปนาท โคตรพันธ์ และ นิยม จันทร์นวล. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในจังหวัดมุกดาหาร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ วิจัยครั้งที่ 16 วันที่ 11-12 กรกฎาคม 2565 (น. 148-160). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ไชยยา จักรสิงห์โต. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มผู้ที่มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน. (สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์).
ดรัญชนก พันธ์สุมา และ พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์วารสาร, 36(5), 597-604.
ระวิ แก้วสุกใส, พรทิวา คงคุณ, บุญยิ่ง ทองคุปต์, ลุตฟี สะมะแอ และ สกุณา บุญนรากร. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการรับรู้กับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่เพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19) ของประชาชนจังหวัดนราธิวาส. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 8(2), 67-79.
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2564). แนวปฏิบัติการป้องกัน COVID-19 ในการทำงานสำหรับภาคอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย.
สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2564). รายงานการดำเนินการตามโรงงานต้นแบบมาตรฐานในการจัดการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (อยุธยาโมเดล). พระนครศรีอยุธยา: สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
Grove, S. K., Burns, N., & Gray, J. R. (2013). The practice of nursing research. Missouri: Elsevier.
Nutbeam D. (2008). The evolving concept of Health Literacy. Social Science & Medicine, 67, 2072-2078.
Rogers, P. W. (1975). A protection motivation theory of fear appeals and attitude change. Journal of Psychology, 91(1), 93-114.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.