การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบผสมผสานโดยใช้กลวิธี QAR ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • เนตรนิภา เจียมศักดิ์ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การเรียนการสอนแบบผสมผสาน, กลวิธีคิวเออาร์, การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD, ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบริบท สภาพปัญหาและความต้องการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษด้านการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบผสมผสานโดยใช้กลวิธี QAR ร่วมกับเทคนิค STAD และ (3) ประเมินผลสัมฤทธิ์ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบผสมผสานโดยใช้กลวิธี QAR ร่วมกับเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มประกอบด้วย 1) คณะผู้บริหารสถานศึกษา และครูสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนกองทุนการศึกษาและเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูจำนวน 24 คน; 2) นักศึกษาครูสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 5 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จำนวน 20 คน; และ 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 132 คน คัดเลือกโดยวิธีสุ่มแบบเจาะจง เก็บข้อมูลในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับบริบท สภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนด้านการอ่านภาษาอังกฤษ 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้กลวิธี QAR ร่วมกับเทคนิค STAD 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ4) แบบทดสอบทักษะด้านการอ่านภาษาอังกฤษก่อนทดลองและหลังการทดลอง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test แบบอิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ภาพรวมด้านบริบท และสภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษด้านการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.56 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 รูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบผสมผสานโดยใช้กลวิธี QAR ร่วมกับเทคนิค STAD มีคุณภาพอยู่ในระดับดี; และ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีพัฒนาการด้านการอ่านภาษาอังกฤษในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบผสมผสานโดยใช้กลวิธี QAR ร่วมกับเทคนิค STAD หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กาญจนา แก้วบ้านดอน และ ธีราภรณ์ พลายเล็ก. (2564). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ3R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 กรณีศึกษาโรงเรียนวัดบวรมงคล. วารสารสถาบันพัฒนาการเรียนรู้ศาสตร์สมัยใหม่, 6(4), 201-211.

กุลธิดา ทุ่งคาใน (2564). การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning ในวิถี New Normal. วารสารครุศาสตร์สาร, 15(1), 29 – 43.

บานบุรี นิวัฒนานุวงค์. (2555). การใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษและความคงทนในการอ่านสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์).

ปรัชญนันท์ นิลสุข และ ปณิตา วรรณพิรุณ. (2556). การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน: สัดส่วนการผสมผสาน. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 25(85), 31-36.

ปรัชญา บินหมัดหนี, โสรัตน์ อับดุลสตา และ ชัรฟุดดีน หะยี. (2561). ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนเอกขนสอนศาสนาอิสลามใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย, 13(25), 25-37.

พรพิมล ศุขะวาที. (2558). การใช้กลยุทธ์การอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิจารณ์โดยผ่านการเรียนแบบผสมผสานของนิสิตครุศาสตร์เอกภาษาอังกฤษ. วารสารครุศาสตร์, 45(2), 72-89.

พุทธชาด ลิ้มศิริเรืองไร. (2561). การวิเคราะห์ความต้องการในรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับอาเซียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 9(2), 257-271.

ศศิกานต์ โฆษิตตระกูล. (2551). ความสามารถด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักศึกษาที่เรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ศิวกานท์ ปทุมสูติ. (2553). คู่มือการอ่านคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: นวสาส์นการพิมพ์.

เศณวี ฤกษ์มงคล (2560). การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา : Blended Learning Method in Educational Innovation and Technology. ใน การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 ประจำปี 2560 “ราชมงคลสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0” (Creative RMUT and Sustainable Innovation for Thailand 4.0). (น. 838-853). นครปฐม:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

สมุทร เซ็นเชาวนิช. (2545). เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุจิตตา พินิจธนสาร. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้การตั้ง คำถามกลวิธี QAR ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

Ghaith, G. M. (2003). The Problems and Prospects of Using Selected Cooperative Learning Structures in Educating Teachers of English as a Foreign Language. Journal of Student-Centered Learning, 2(1), 93-100.

Johnson, D.W. & John, R.T. (1991). Learning Together and Alone. New Jersey: Prentice-Hall.

Maccoun, H. (2016). The effect of using blended learning on the achievement of students and information retention of fifth graders in the biology course. J. Fac. Educ, 22(95), 209-240.

Raphael, T. E., & AU, K.H. (2005). QAR: Enhancing comprehension and test taking across grades and content areas. The Reading Teacher, 59, 206-221.

Slavin, R.E. (1995). Cooperative Learning Theory, Research and Practice. (2nd ed.). Massachusetts: A Simon & Schuster.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-27