ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 กับคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่

ผู้แต่ง

  • เกตน์สิริ ขวัญคง สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • พระครูประโชติกิจจาภรณ์ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • ธีระพงษ์ สมเขาใหญ่ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหาร, หลักอิทธิบาท 4, คุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 และคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ และ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 กับคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณโดยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ จำนวน 320 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการศึกษาพบว่า การบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารกับคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การบริหารงานตามหลักจิตตะ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การบริหารงานตามหลักวิมังสา ส่วนการบริหารงานตามหลักวิริยะ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คุณภาพผู้เรียนจากการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 กับคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ธิติญา เพ็ชร แผ้ว, ธีรภัทร ถิ่นแสนดี และ เอนก ศิลปะนิลมาลย์. (2565). การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 6(2), 11-25.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2545). ธรรมนูญชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 46). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมศาสนา.

พิทูร มลิวัลย์. (2557). แบบเรียนวิชาธรรมและนักธรรมชั้นตรี. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.

พุทธทาสภิกขุ. (2549). การงานที่เป็นสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมสภา.

สิน งามประโคน, พีรวัฒน์ ชัยสุข, พระครูภัทรธรรมคุณ, พระมหาสมบัติ ธนปญฺโญ และ เกษม แสงนนท์. (2562). การบริหารการศึกษา : แนวคิด ทฤษฎีและรูปแบบการบริหารจัดการ. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 6(3). 134-146.

Cronbach, Lee J. (1971). Essentials of psychological testing. (4th ed.). New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28