แรงจูงใจในการตัดสินใจประกอบอาชีพบริการส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ของไรเดอร์ในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • จิรวรรณ เรื่อศรีจันทร์ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประเทศไทย
  • ณัฐกาญจน์ สมบุญโภชน์ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประเทศไทย
  • พวงเพชร สุขประเสริฐ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, การตัดสินใจ, บริการส่งอาหาร, แอปพลิเคชันออนไลน์, ไรเดอร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจประกอบอาชีพบริการส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ของไรเดอร์ในจังหวัดปทุมธานี และ (2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของแรงจูงใจที่มีต่อการตัดสินใจประกอบอาชีพบริการส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ของไรเดอร์ในจังหวัดปทุมธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนในจังหวัดปทุมธานีที่ประกอบอาชีพบริการส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ จำนวน 400 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ผลการศึกษาพบว่า ไรเดอร์ในจังหวัดปทุมธานีที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ ลักษณะอาชีพของ ไรเดอร์ ประสบการณ์ในการเป็นไรเดอร์ และแพลตฟอร์มที่ต่างกัน มีการตัดสินใจประกอบอาชีพบริการส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และแรงจูงใจกับการตัดสินใจประกอบอาชีพบริการส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ของไรเดอร์ในจังหวัดปทุมธานี มีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำมากถึงระดับปานกลาง โดยมีระดับความสัมพันธ์ (r) อยู่ระหว่าง 0.15-0.69 เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักแรงจูงใจที่มีระดับความสัมพันธ์กับการตัดสินใจประกอบอาชีพมากที่สุดคือ ด้านสภาพการทำงานที่ต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจด้านการแสวงหาทางเลือก  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.580)

References

กรวรรณ กฤตวรกาญจน์ และ เสาวลักษณ์ ด้วงอิน. (2564). การเปรียบเทียบทัศนคติ ความพึงพอใจ และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจประกอบอาชีพบริการส่งอาหาร ผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ของไรเดอร์ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารการสื่อสารมวลชน, 9(2), 247-277.

เกษม พิพัฒน์เสรีธรรม. (2564). ธุรกิจส่งอาหาร ปังไม่หยุด. สืบค้น 15 มิถุนายน 2566. จาก https://marketeeronline.co/archives/233427.

จันทร์แรม เรือนแป้น. (2561). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

ชเนศ ลักษณ์พันธุ์ภักดี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ไทยโพสต์. (2565). พิษโควิดเปลี่ยนโลกการทำงาน. สืบค้น 28 ตุลาคม 2565. จาก https://www.thaipost.net/main/detail/115841.

พรทวี เถื่อนคำแสน และ บุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการตัดสินใจเลือกทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 13(1), 1-23.

พุทธินันทร์ บุญเรือง. (2563). ประชากรศาสตร์เพื่อการพัฒนา. อุตรดิตถ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ไพลิน บรรพโต. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการเลือกประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมบริการของนักศึกษาสาขาการจัดการการโรงแรม ระดับชั้นปริญญาตรี ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

วิพร เกตุแก้ว. (2562). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพฯ: นิติธรรมการพิมพ์.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). อยากกินต้องได้กิน SME ร้านอาหารปรับรับ Food Delivery. สืบค้น 28 ตุลาคม 2565. จาก https://www.kasikornresearch.com/SiteCollectionDocuments/analysis/k-social-media/sme/food%20Delivery/FoodDelivery.pdf.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.

Herzberg, F. (2017). Motivation to work. New York: Routledge.

Simon, H. A. (1960). The New Science of Management Decision. New York: Harper & Row.

The Standard. (2564). Foodpanda ปักธงส่งอาหารครบ 77 จังหวัดเจ้าแรกในไทย มั่นใจเก็บ GP เรตเหมาะสม ช่วยเพิ่มยอดขายร้าน คนสั่งได้บริการดี. สืบค้น 28 ตุลาคม 2565. จาก https://thestandard.co/foodpanda-food-delivery-in-all-77-provinces-the-first-in-thailand/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-19