ปัจจัยที่ส่งผลต่อเกษตรกรในการนำหลักทฤษฎีโคกหนองนาโมเดล มาประยุกต์ใช้ในการทำเกษตรกรรมในพื้นที่เขตบางแค กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พัศราวตรี ทุนดี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ประเทศไทย
  • ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การประยุกต์, โคกหนองนาโมเดล, เกษตรกร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำหลักทฤษฎีโคกหนองนาโมเดลมาประยุกต์ใช้ในการทำเกษตรกรรมในพื้นที่เขตบางแค กรุงเทพมหานคร และ (2) ศึกษาแนวทางในการส่งเสริมให้เกษตรกรนำหลักทฤษฎีโคกหนองนาโมเดลมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่เขตบางแค กรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับโครงการโดยตรง และอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เขตบางแค จำนวน 20 คน วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อเกษตรกรในการนำทฤษฎีโคกหนองนาโมเดล มาประยุกต์ใช้ในการทำเกษตรกรรมในพื้นที่เขตบางแค กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยภายใน ประกอบด้วย ทุนความรู้ ทุนพื้นที่และธรรมชาติ ทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทางวัฒนธรรม และปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย การน้อมนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ การนำหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล และแนวทางในการส่งเสริมให้เกษตรกรนำหลักทฤษฎีโคกหนองนา โมเดล มาประยุกต์ใช้ในพื้นที่เขตบางแคกรุงเทพมหานคร ได้แก่ การพัฒนาโคกหนองนา โมเดล ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ สร้างความเกื้อกูลทางธรรมชาติ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ เป็นต้นแบบสำหรับขยายผลองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรรายอื่นๆ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2563). คู่มือการดำเนินงานตามหลักทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัฐกาลที่ 9 ประยุกต์สู่ “โคกหนองนา โมเดล”. สมุทรสาคร: บริษัทพิมพ์ดี จำกัด.

กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน. (2560). โคก หนอง นา โมเดล. สืบค้น 25 พฤษภาคม 2565. จาก https://www.opsmoac.go.th/km-km_article-files-401591791792.

มาริษา ศรีษะแก้ว, สถาพร วิชัยรัมย์ และ สากล พรหมสถิต. (2563). ศาสตร์พระราชา : เกษตรทฤษฎีใหม่ในรูปแบบ “โคกหนองนา โมเดล”. วารสารสหวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 4(2), 31-40.

รุจิกาญจน์ สานนท์ และ นิติพัฒน์ กิตติรักษกุล. (2564). การประยุกต์ใช้โคกหนองนา โมเดลสำหรับการจัดการเกษตรในเมืองเพื่อความยั่งยืน. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 137-150.

สำนักงานเขตบางแค. (2565). ฐานข้อมูลสถิติด้านการทะเบียนสำนักงานเขตบางแค. สืบค้น 25 พฤษภาคม 2565. จาก https://webportal.bangkok.go.th/bangkhae/index?cover=1.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ ยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2555). เกษตรทฤษฎีใหม่ในเขตปฏิรูปที่ดิน. กรุงเทพฯ: กองประสานงานโครงการพระราชดำริและโครงการพิเศษ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม.

สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2562). คู่มือเกษตรทฤษฎีใหม่. กรุงเทพฯ: มูฟเม้นท์เจนทรี.

สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2541). เพิ่มทุนมนุษย์ด้วย “จิตสาธารณะ”. สังคมพัฒนา, 36(4), 63-70.

อัษฎาวุฒิ พฤฒิวรวงศ์. (2563). การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์สู่ “โคกหนองนา โมเดล” อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-29