แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษาต่อเนื่อง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • กาญจนา ปรีจำรัส คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ประเทศไทย
  • คมสันทิ์ ขจรปัญญาไพศาล คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ประเทศไทย
  • สุพจน์ ดวงเนตร คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ภาคีเครือข่าย, การจัดการศึกษาต่อเนื่อง, การศึกษานอกระบบ, การศึกษาตามอัธยาศัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษาต่อเนื่องของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์ (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษาต่อเนื่องของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้นำท้องที่ ใน 18 อำเภอของจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 317 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน เลือกตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับและแบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่าการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษาต่อเนื่องของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษาต่อเนื่องของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 1) ควรประสานความร่วมมือในระดับบุคคล 2) หน่วยงานในการสำรวจข้อมูล 3) ความต้องการการวิเคราะห์การแก้ปัญหา ซึ่งการมีส่วนร่วมนั้นต้องอาศัยงบประมาณ การประสานงานด้วยทางวาจา และหนังสือราชการ  โดยควรขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งการวางแผน การปฏิบัติ และการนิเทศติดตามผล

References

จารุวรรณ วงศ์วุฒิ. (2555). การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อําเภอเชียงคํา จังหวัดพะเยา. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา).

ธนสาร บัลลังก์ปัทมา. (2561). คู่มือการบริหารโรงเรียนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครสวรรค์: ริมปิงการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. บุรีรัมย์: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฎบุรีรัมย์,

ราชกิจจานุเบกษา. (2542). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องการกำหนดและแก้ไขการเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่ การศึกษาเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. เล่ม 127 ตอนพิเศษ 97 ง, สิงหาคม 2553. (สําเนา).

สร้อยทิพย์ อุจวาที. (2557). มิติใหม่ : ภาคีเครือข่าย. สืบค้น 11 ตุลาคม 2565. จาก https://www.dailynews.co.th/education/258726.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Shrestha, P., Rasmussen, M., Khanal, S. K., Pometto Iii, A. L., & Van Leeuwen, J. (2008). Solid-substrate fermentation of corn fiber by Phanerochaete chrysosporium and subsequent fermentation of hydrolysate into ethanol. Journal of Agricultural and Food chemistry, 56(11), 3918-3924.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-28