กลยุทธ์การบริหารการศึกษาระบบทวิภาคีสู่การประกอบอาชีพของวิทยาลัยการอาชีพบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • สุชาติ กลิ่นเขียว สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • มะลิวัลย์ โยธารักษ์ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • พระมหาสุพจน์ สุเมโธ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การบริหาร, การศึกษาระบบทวิภาคี, วิทยาลัยการอาชีพ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมการบริหารการศึกษาระบบทวิภาคีสู่การประกอบอาชีพของวิทยาลัยการอาชีพบางแก้ว จังหวัดพัทลุง และ (2) สร้างกลยุทธ์การบริหารการศึกษาระบบทวิภาคีสู่การประกอบอาชีพของวิทยาลัยการอาชีพบางแก้ว จังหวัดพัทลุง วิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 15 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า สภาพแวดล้อมการบริหารการศึกษาระบบทวิภาคีสู่การประกอบอาชีพของวิทยาลัยการอาชีพบางแก้ว จังหวัดพัทลุง พบว่า สภาพแวดล้อมภายนอก P-E-S-T โอกาส คือ ปัจจัยด้านสังคม วัฒนธรรม อุปสรรค คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมภายใน ตามแนวคิด 7S McKinsey จุดแข็ง คือ ปัจจัยด้านระบบ และปัจจัยที่มีจุดอ่อน คือ ปัจจัยด้านกลยุทธ์ และการสร้างกลยุทธ์การบริหารการศึกษาระบบทวิภาคีสู่การประกอบอาชีพของวิทยาลัยการอาชีพบางแก้ว จังหวัดพัทลุง เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาสภาพ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ในด้านต่างๆ มาทำการวิเคราะห์ SWOT โดยใช้เครื่องมือ BCG MATRIX ผลการวิเคราะห์คืออยู่ในช่อง STARS ซึ่งมีความหมายว่า มีการบริหารภายในที่เข้มแข็ง และมีสภาพแวดล้อมภายนอกที่เอื้อต่อการดำเนินการกำหนดกลยุทธ์การบริหารการศึกษาระบบทวิภาคีสู่การประกอบอาชีพ โดยมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนากลยุทธ์ มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และกลยุทธ์

References

เกริกก้อง มังคละพฤกษ์ และพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2561). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างค่านิยมในการทำงาน. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 36,(3), 159-178.

ธนภัทร มั่นคง. (2561). กลยุทธ์การบริหารอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ - ลำพูน ตามแนวคิดคุณภาพมาตรฐานสากล. (ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย).

นิจิรา บำรุงกิจ, ชญาพิมพ์ อุสาโห และ พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2562). กลยุทธ์การบริหารวิชาการของวิทยาลัยอาชีวศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาคุณลักษณะผู้ประกอบการของนักศึกษา. วารสารครุศาสตร์, 47(1), 144-162.

ปิยนันท์ พัชรสำราญเดช. (2560). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครองและความต้องการของสถานประกอบการ. (ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

พีรสิชฌ์ มีสมสาร. (2561). กลยุทธ์การบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของนักเรียนนักศึกษา. (ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

วิทยาลัยการอาชีพบางแก้ว. (2562). หลักสูตรวิทยาลัยการอาชีพบางแก้ว. พัทลุง: ฝ่ายวิชาการงานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน.

สายพิณ ปัญญาคำ. (2562). กลยุทธ์การบริหารอาชีวศึกษาเอกชนในเครือเอกวรรณสู่ความเป็นเลิศ. (ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2562). พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ 2542. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2563) แนวทางปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. กรุงเทพฯ: ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2563). ประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่องมาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2563). ยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษานโยบายยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาในระยะ 15 ปี 2555-2569. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผนอาชีวศึกษา.

อภิรดี จริยารังษีโรจน์. (2562). กลยุทธ์การบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษา ตามแนวคิดแรงงานที่มีนวัตกรรมในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก. (ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

Akiri, Agharuwhe A. (2014). Assessment of Instructional and Administrative Strategies Applied by Principals to Improve Academic Performance. International Journal of Educational Administration and Policy Studies, 6(7), 114-118.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-22