แนวทางการดำเนินงานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามนโยบายสถานศึกษาพอเพียง ในโรงเรียนเครือข่ายสถานศึกษาเชียรใหญ่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3

ผู้แต่ง

  • อรวรรณ แก้วพรหม สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • กษมา ศรีสุวรรณ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • พระมหาสุพจน์ สุเมโธ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย

คำสำคัญ:

แนวทางการดำเนินงานสถานศึกษาพอเพียง, สถานศึกษาพอเพียง, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนเครือข่ายเชียรใหญ่ 2 (2) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามนโยบายสถานศึกษาพอเพียงในโรงเรียนเครือข่ายเชียรใหญ่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิจัยแบบเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยการคัดเลือกผู้บริหารสถานศึกษาและครูในเครือข่ายสถานศึกษาเชียรใหญ่ 2 จำนวน 15 คน การร่างรูปแบบโดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญซี่งเป็นผู้บริหารและครูโดยการคัดเลือกแบบเจาะจงจากโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ จากการเข้ารับการประเมินสถานศึกษาพอเพียงและผ่านเกณฑ์การประเมิน จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินงานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนเครือข่ายเชียรใหญ่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 มีการเริ่มจัดทำแผนตามคู่มือประเมินสถานศึกษาพอเพียง ซึ่งมีองค์ประกอบอยู่ 5 ด้าน คือ ด้านบริหารจัดการ ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ด้านผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ แนวทางการดำเนินงานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามนโยบายสถานศึกษาพอเพียงในโรงเรียนเครือข่ายเชียรใหญ่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ประกอบด้วย โรงเรียนได้จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนโดยมีการเรียนการสอนบูรณาการให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาชองเศรษฐกิจพอเพียง 8 กลุ่มสาระวิชา เพื่อพัฒนาเป็นสถานศึกษาพอเพียง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถานศึกษาเสริมสร้างลักษณะนิสัยในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้เรียนให้มีทักษะในการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง มีความรู้ความเข้าใจและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีวิจารณญาณเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แผนการศึกษาของโรงเรียน ตามนโยบายสถานศึกษาพอเพียง ทั้ง 5 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านการบริหาร (2) ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน (3) ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (4) ด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา (5) ด้านผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). คู่มือการประเมินสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กันยา ทิพนี. (2558). การพัฒนารายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง เกษตรอินทรีย์ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านศรีบุญเรือง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).

จักรปรุฬห์ วิชาอัครวิทย์. (2553). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานบนพื้นที่สูงตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน (รายงานวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

จักรปรุฬห์ วิชาอัครวิทย์. (2558). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).

ชนมณี ศิลานุกิจ, อํานวย ทองโปร่ง, รังสรรค์ มณีเล็ก และ สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2563). รูปแบบการบริหารโรงเรียนโดยใช้วงจรคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 10(1), 43-58.

ชารดา จิตต์อำมาตย์. (2560). การประเมินโครงการสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนเหล่าฝ้ายผดุงวิทย์ จังหวัดหนองคาย. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม).

ชุลีกร สายเกียรติวัติ และ พิชญาภา ยวงสร้อย. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงในวิถีอาเซียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(1), 219-230.

เพชรประภาร์ ชุมสาย. (2559). การจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี).

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2549). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

อรวรรณ ป้อมดำ. (2561). การขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-08