การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พระครูวินัยธรสุวรรณ สุวณฺโณ (เรืองเดช) วัดหนองแวง พระอารามหลวง จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย

คำสำคัญ:

คุณธรรม, จริยธรรม, นักเรียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น (2) เปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง และประสบการณ์ (3) เสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 168 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบโดยการทดสอบ t-test และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One-way ANOVA) ผลการศึกษา พบว่า สภาพการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปหาต่ำ ได้แก่ ด้านความมีคุณธรรม ด้านจิตอาสา ด้านความพอเพียง และด้านความมีวินัย ผลการเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น ของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านความมีคุณธรรม ไม่แตกต่างกัน จำแนกตามตำแหน่ง โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น ควรใช้ชีวิตแบบพอเพียง มีความพอประมาณ มีวินัยในการดำเนินชีวิต การตัดสินใจที่ถูกต้อง โดยอาศัยศีลธรรมเป็นเครื่องนำทาง ควรมีจิตใจโอบอ้อมอารี มีจิตแห่งการให้ความดีงามทั้งปวงแก่เพื่อนมนุษย์ โดยเต็มใจ

References

ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2550). คุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น

ประเวศ วะสี. (2550). การจัดการความรู้ : กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์สู่ศักยภาพ เสรีภาพ และความสุข. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.

พระคมสันต์ พฺรหฺมโชโต (พรมเมฆ). (2565). การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สุราษฎร์ธานี. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 7(2), 209-222.

พระณธัชพงศ์ โนทายะ. (2561). การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานของนักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดไทรราษฎร์อุปถัมภ์สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก).

พระสมุห์ประสิทธิ์ ปสิทฺธิโก (แสนด้วง). (2560). การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. (พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. (2560). ข้อมูลสารสนเทศเขตพื้นที่การศึกษา. ขอนแก่น: ศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลสารสนเทศ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

สุวรรณเพ็ญ ปิ่นบาง. (2561). การดำเนินงานด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 1. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี).

Kant, I. (1965). The Metaphysics of Morals: The Metaphysical Elements of Justice; Translated, with an Inroduction by John Ladd. Indianapolis: Bobbs-Merrill.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-28