สมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สู่คุณภาพการศึกษาในยุคใหม่

ผู้แต่ง

  • พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประเทศไทย
  • กาญจน์ เรืองมนตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประเทศไทย
  • ราตรี เลิศหว้าทอง นักวิชาการอิสระ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

สมรรถนะครู, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, คุณภาพการศึกษาในยุคใหม่

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความสำคัญของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning และเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่เกิดขึ้นท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทุกด้านในยุคใหม่ หรือศตวรรษที่ 21 จากการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาจำเป็นต้องดำเนินการ โดยคำนึงถึงสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากสมรรคถะกระบวนการจัดการเรียนรู้จากสมรรถนะของครู ดังนั้นครูนับเป็นกลไกสำคัญหลักกลไกหนึ่งที่จะช่วยให้การจัดการศึกษาในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ให้บรรลุตามเป้าหมายของการพัฒนาประเทศและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพเติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ตามหลักการของการจัดการศึกษาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติได้ สมรรถนะของครูมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งสำเร็จบรรลุตามเป้าหมายของการจัดการศึกษาของชาติที่กำหนดไว้ ดังนั้น จากการที่ครูมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จดังกล่าว การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก หรือ Active Learning จึงเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่เหมาะสมที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ เป็นแนวทางที่สำคัญที่ครูควรนำมาใช้ควรช่วยในการพัฒนาทักษะการ คิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การสื่อสาร ตลอดจนการนำเสนอที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม บทบาทของผู้เรียนนอกจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมแล้ว ยังต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน และผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกันด้วย ครูผู้สอนควรลดบทบาทในการถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียนในลักษณะการบรรยายลง และเพิ่มบทบาท ในการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเรียนรู้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). บทบาทของครูในการเรียนรู้แบบ Active Learning. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2565. จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php? NewsID=12972&Key.

จันทร์ชลี มาพุทธ. (2555). สอนน้อยเรียนมาก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 23(2), 33-43.

จิตณรงค์ เอี่ยมสำอาง. (2558). Active Learning แนวทางในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในยุคศตวรรษที่ 21. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2565. จาก http://chitnarongactivelearning.blogspot.com/2015/09/active-learning.

ณัชนัน แก้วชัยเจริญกิจ. (2550). ภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา: บทบาทของครูกับ Active Learning. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2565. จาก http://www.pochanukul.com.

ทิศนา แขมมณี. (2551). รูปแบบการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรตา ขำนอง. (2562). การเรียนรู้แบบ “สอนน้อยเรียนมาก” ในศตวรรษที่ 21 กับการเรียนรู้เชิงพุทธ. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 6(1), 145-157.

บัณฑิต ทิพากร. (2550). การพัฒนาคณาจารยในสถาบันอุดมศึกษา ใน ไพทูรย์ สินลารัตน บรรณาธิการ อาจารย์มืออาชีพ: แนวคิด เครื่องมือ และการพัฒนา. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. (2551). การเรียนเชิงรุก (Active Learning). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2562). สมรรถนะและการจัดการเชิงกลยุทธ์. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2565). สมรรถนะสำหรับผู้บริหารสถานศึกษายุคนี้. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

พิณสุดา สิริธรังสี. (2552). ภาพการศึกษาในอนาคต 10-20 ปี. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2559). การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2565. จาก https://km.buu.ac.th/article/frontend/article_detail/141.

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ศุณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ และ แบ๊งค์ งามอรุณโชติ. (2555). ระบบบริหารและการเงินเพื่อสร้างความรับผิดชอบในการจัดการศึกษา ใน เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการประจำปี 2554 “ยกเครื่องการศึกษาไทย : สู่การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง”, 15 กุมภาพันธ์ 2555 บางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ บี โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI).

สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). คู่มือสมรรถนะข้าราชการพลเรือนไทย. กรุงเทพฯ: พี.เอ. ลีฟวิ่ง.

สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกําหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน: คู่มือสมรรถนะหลัก. นนทบุรี: บริษัท ประชุมช่าง จํากัด.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). แนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.). (2564). สทศ. ประกาศผลสอบโอเน็ต ป.6, ม.3 และ ม.6 ปีการศึกษา 63 ภาพรวมคะแนนเฉลี่ยใกล้เคียงกับปีก่อน. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2565. จาก https://www.thaipost.net/main/detail/100907.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2549). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency BASED LEARNING. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2555). แนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2565. จาก www.onec.go.th.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2548). Competency Dictionary. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2565. จาก http//:idea.ac.th./hr/data/hr_scorecard/competency_31_01_48.pdf.

Bonwell, C. C., & Eison, J. A. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. Washington, DC: ERIC Digest.

Greengard, S. (1999). Competency Management Delivers Spectacular Corporate Gains, Workforce. Costa Mesa: March.

Meisinger, S. (2003). Adding Competencies Adding Value HR Magazine. Alexandria: Jul.

Meyers, C.; & Jones, T. B. (1993). Promoting Active Learning: Strategies for the College Classroom. San Francisco: Jossey-Bass.

Özçelik, G., & Ferman, M. (2006). Competency approach to human resources management: Outcomes and contributions in a Turkish cultural context. Human Resource Development Review, 5(1), 72-91.

Partnership for 21th Century Learning. (2009). 21st Century Skills : Learning for Life in Our Times. Retrieved 24 August 2022. from https://books.google.co.th/books?isbn=111815706.

Rosen, B., Furst, S., & Blackburn, R. (2006). Training for virtual teams: An investigation of current practices and future needs. Human Resource Management: Published in Cooperation with the School of Business Administration, The University of Michigan and in alliance with the Society of Human Resources Management, 45(2), 229-247.

Shenker, J. I. , Goss, S. A. & Bernstein, D. A. (1996). Instructor,s Resource Manual for Psychology: Implementing Active Learning in the Classroom. Retrieved 24 August 2022. from https://s.prych/uiuic.edu/~jskenker/active.html.

Wright, L. (2001). HR Competencies : Getting Them Right. Toronto: Canadian HR Reporter.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30