การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กโดยใช้กิจกรรมวาดภาพระบายสีของเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • ขวัญธิศศรา อภิสุขสกุล มหาวิทยาลัยปทุมธานี ประเทศไทย
  • สุนันท์ ศลโกสุม มหาวิทยาลัยปทุมธานี ประเทศไทย
  • ปุริมปรัชญ์ ไพบูลย์สุข มหาวิทยาลัยปทุมธานี ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การพัฒนากล้ามเนื้อมือมัดเล็ก, เด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 3, กิจกรรมวาดภาพระบายสี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือมัดเล็กของเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังใช้การวาดภาพและระบายสี เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 3/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 32 คน ได้มาโดยการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมวาดภาพและระบายสีของเด็กปฐมวัย 2) ชุดกิจกรรมวาดภาพและระบายสีของเด็กปฐมวัย และ 3) แบบสังเกตพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยโดยผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละของความก้าวหน้า ผลการศึกษาพบว่า ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือมัดเล็กของเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังใช้การวาดภาพและระบายสีโดยรวมและรายด้านเด็กปฐมวัยมีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือมัดเล็กหลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรน-เบส.

ชุติมา เล็กพงศ์. (2545). การส่งเสริมรากฐานการเรียนรู้: ก้าวย่างที่สำคัญจากปฐมวัยสู่ประถมศึกษา. วารสารวิชาการการจัดการภาครัฐและเอกชน, 4(2), 196-206.

ณัฐนรี บุบผศิริ. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับเด็กที่มีภาวะออทิซึม. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ทองใบ สวัสดิ์ผล. (2561). การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กที่ส่งผลต่อการเขียนของเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนการกุศลวัดบ้านก่อ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

ประสน จุมพรม. (2550). ทักษะทางการวาดภาพของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมวาดภาพอิสระ. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ปรารถนา กุศลโกมล และ สุรสา จันทนา. (2565). การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 7(3), 155-164.

ผกากานต์ น้อยเนียม. (2556). ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอายุ 4-5 ปี ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยดิน. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ยศวีร์ สายฟ้า. (2557). รอยเชื่อมต่อการเรียนรู้ระหว่างชั้นเรียนอนุบาลและประถมศึกษา: ก้าวย่างที่สำคัญของเด็กประถมศึกษา. วารสารครุศาสตร์, 42(3), 143-159.

รวิพร ผาด่าน. (2557). ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์การฉีก ตัด ปะเศษวัสดุ. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

รวีวรรณ สุวรรณเจริญ. (2554). ความคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยแป้งโดกับลูกกลิ้งหลายลาย. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ).

รุ่งรวี กนกวิบูลย์ศรี. (2555). วาดรูประบายสีอย่างไรให้ได้พัฒนาการรอบด้าน. นิตยสารรักลูก, 30(353), 190.

รุ่งรวี กนกวิบูลย์ศรี. (2555). อนุบาล 2 แล้วยังเขียนหนังสือไม่ค่อยได้. นิตยสารรักลูก, 30(357), 199.

โรงเรียนโชคชัยรังสิต. (2565). ผลการประเมินคุณภาพภายนอก. สืบค้น 15 มิถุนายน 2565. จาก http://chokchai.ac.th/ccr/18056503/.

สรวงพร กุศลส่ง. (2553). สุนทรียภาพทางศิลปะระดับปฐมวัย. เพชรบูรณ์: ดีดีการพิมพ์.

Fisher, J. and Terry, A. (1997). Children’s Language and the Language Arts. Massachusetts: Allyn & Bacon A Simon & Schuster.

Gesell, A. (1940). The First Five Years of life: A Guide to the Study of the PreschoolChild. New York: Harper.

Huffman, J. M., & Fortenberry, C. (2011). Developing fine motor skills. Young Children, 66(5), 100-103.

Lamme, L. L. (1978). Handwriting: In an Early Childhood Curriculum. Young Children, 1(35), 20-27.

Lowenfeld, V. & Brittain, L. (1970). Creative and mental Growth. (5th ed.) New York: The Macmillan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-22