ผลการใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม สำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ของศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ยุทธศักดิ์ ภูผาอารักษ์ สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการให้คำปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย
  • ณัฐพล มีแก้ว สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการให้คำปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย
  • สมพร หวานเสร็จ สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการให้คำปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การศึกษาพิเศษ, การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม, ผู้ปกครอง, เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ, โปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ และ (2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อโปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลสำหรับผู้ปกครองฯ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนและหลังอบรม (The One-Group Pretest-Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงผู้ปกครองที่มารับบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มในศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง จำนวน 10 คน ระยะเวลาในการฝึกอบรม จำนวน 18 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจในการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มฯ แบบวัดเจตคติของผู้ปกครองต่อเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการใช้โปรแกรม ภายหลังจากการใช้โปรแกรมเสร็จสิ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า ผลการใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม สำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ผู้ใช้โปรแกรมมีความรู้ ภายหลังการใช้โปรแกรมสูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้ใช้โปรแกรมมีทักษะการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีเจตคติหลังการใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษาสูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และระดับความความพึงพอใจต่อโปรแกรมให้คำปรึกษารายบุคคล อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีความพึงพอใจเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านเนื้อหาของโปรแกรม ด้านกระบวนการเรียนรู้ในการอบรม และด้านการประยุกต์ความรู้ไปใช้ในการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ. ศ. 2551. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 -2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

จิรวัฒน์ ทิพยรส. (2559). การพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมสมรรถนะอาจารย์ใหม่ผ่านระบบออนไลน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

เจียรนัย ทรงชัยกุล และ โกศล มีคุณ. (2554). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการให้การปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม. ประมวลสาระชุดวิชาแนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา. นนทบุรี: โรงพิมพ์สุโขทัยธรรมาธิราช.

ณัฏฐณิชา สังศิลป์เลิศ. (2566). ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 5(1), 84-102.

ณัฐิดา กุลศรี และ กาญจนา ไชยพันธุ์. (2554). การให้คำปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีโรเจอร์ส เพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา, 5(1), 33–38.

ธราเทพ เตมีรักษ์. (2565). การพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างการสร้างสรรค์และนวัตกรรม สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. (การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

นพรุจน์ อุทัยทวีป (2560). ผลของการให้การปรึกษารายบุคคลตามแนวคิดของโรเจอร์สที่มีต่อการเข้าถึงใจของนักศึกษามหาวิทยาลัย. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

เนตรชนก รินจันทร์ และ นงนุช โรจนเลิศ. (2558). การฝึกอบรมผู้ปกครองเพื่อฝึกทักษะการดูแลช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเด็กออทิสติก. วารสารวิชาการ (สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ), 8(2), 1765-1782.

พิชาภรณ์ ก้อนแก้ว, พัชรินทร์ เสรี, คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์ และ สิรินัดดา ปัญญาภาส. (2563). ผลของโปรแกรมฝึกอบรมผู้ปกครองที่มีต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ, 16(2), 51-64.

สมพร หวานเสร็จ. (2547). การพัฒนารูปแบบการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาโดยบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 9 จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 จังหวัดขอนแก่น.

สุขอรุณ วงษ์ทิม. (2557). จิตวิทยาและสังคมวิทยาพื้นฐานเพื่อการแนะแนว. หน่วยที่ 4 อัตมโนทัศน์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุภลัคน์ ดรุนัยธร. (2554). ผลของการให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลที่มีต่อความวิตกกังวลของมารดาที่มีบุตรเจ็บป่วยในหออภิบาลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจ. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สุมาลี ดีจงกิจ, เจียมใจ จีระอัมพร, ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์, พรจิต จิตรถเวช และ จุฑามาศ หันยอ. (2561). เจตคติของผู้ปกครองต่อเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน. วารสารรามาธิบดีเวชสาร. 41(1), 74-81.

Bhardwaj, P., Bhardwaj, N., Mahdi, F., Srivastava, J. P., & Gupta, U. (2015). Integrated teaching program using case-based learning. International Journal of Applied Basic Medical Research, 5(8), 24-28.

Erikson, E. H. (1993). Childhood and society. New York: Norton.

Landazabal, M. G. (2009). A comparative analysis of empathy in childhood and adolescence: Gender differences and associated socio-emotional variables. International Journal of Psychology and psychological therapy, 9(2), 217-235.

Meier S.T. & Davis S.R. (1993). Basic Counseling: A Helper’s Manual. London: SAGE Publication.

Teusch, L., Böhme, H., Finke, J., & Gastpar, M. (2001). Effects of client-centered psychotherapy for personality disorders alone and in combination with psychopharmacological treatment: an empirical follow-up study. Psychotherapy and psychosomatics, 70(6), 328-336.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19