บทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2
คำสำคัญ:
บทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์, ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, สถานศึกษาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ (2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษา ประชากรคือผู้บริหาร และครูผู้สอนในสถานศึกษา จำนวน 1,217 คน และกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 313 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า บทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์เชิงสร้างสรรค์ รองลงมาคือด้านผู้นำที่มีความคิดความเข้าใจระดับสูง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านความคาดหวังและการสร้างโอกาสสำหรับอนาคต ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ที่จำแนกตามเพศ อายุ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน โดยภาพรวมผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีอายุต่างกัน มีบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีเพศ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษาต่างกัน มีบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ไม่แตกต่างกัน
References
ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2550). การนิเทศการสอนแบบใหม่. กรุงเทพฯ: จงเจริญการพิมพ์
ณัฏฐ์ แสงนุสิทธิ์ และ กัลยมน อินทุสุต. (2565). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(2), 163-172.
ณัฐวุฒิ ภารพบ. (2553). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดภาคใต้. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ).
ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2560). ภาวะผู้นำทางการบริหาร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: บริษัท วี. อินเตอร์ พริ้นท์.
นวลจันทร์ จุนทนพ. (2559). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาล ในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี).
บุญช่วย สายราม. (2557). ทักษะภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถาน ศึกษายุคใหม่. มหาสารคาม: ภาควิชาการบริหาร และพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปนัดดา วรกานต์ทิวัตถ์. (2555). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนอาชีวะเอกชนกรุงเทพมหานคร ตามการรับรู้ของผู้บริหารและครู. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).
มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2561). ภาวะผู้นำทางการศึกษา : ทฤษฎีและการปฏิบัติ. นครปฐม: ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
วริษา ฮวดศรี, กัญภร เอี่ยมพญา และ นิวัตต์ น้อยมณ. (2564). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 22(1), 103-117.
วันวิสาข์ ทองติง. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันราชภัฏเลย).
Durin, A. J. (2004). Leadership: Research Findings, Practice, and Skills. (4th ed.). New York: McGraw - Hill.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activiles. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.