ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการศูนย์การค้าระหว่างช่วงสถานการณ์ COVID-19

ผู้แต่ง

  • สุดารัตน์ พราวทัศน์ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • อรุณี ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

พฤติกรรมของผู้บริโภค, ศูนย์การค้า, โควิด-19

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายในการใช้บริการที่ศูนย์การค้าระหว่างช่วงสถานการณ์ COVID-19 กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้บริโภคที่ใช้บริการศูนย์การค้าในระหว่างสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ที่อาศัยอยู่ภายในกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการศูนย์การค้าระหว่างช่วงสถานการณ์ COVID-19 ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี รายได้มากกว่า 50,000 บาท ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านลักษณะทางกายภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่า หากปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพมีผลต่อค่าใช้จ่ายในการใช้บริการที่ศูนย์การค้าระหว่างช่วงสถานการณ์ COVID-19 หากปัจจัยมีการเปลี่ยนแปลง ก็จะทำให้มีผลต่อค่าใช้จ่ายในการใช้บริการในศูนย์การค้า ระหว่างสถานการณ์โรค COVID-19 เปลี่ยนแปลงไป โดยมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน และหากปัจจัยด้านราคาเปลี่ยนแปลงทำให้ผลต่อค่าใช้จ่ายในการใช้บริการที่ศูนย์การค้าในระหว่างสถานการณ์โรค COVID-19 เปลี่ยนแปลงไป โดยมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้าม

References

กมลวรรณ สุขสมัย. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์การค้า. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). รายงานสถานการณ์การท่องเที่ยวประจำเดือน ธันวาคม 2563. สืบค้น 8 สิงหาคม 2565. จาก https://www.mots.go.th/download/article/article_20210217155048.pdf.

จิตรกมล สังข์เพชร และ สุพิศ ฤทธิ์แก้ว. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้บริการศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า สาขาสุราษฎร์ธานี. WMS Journal of Management, 5(3), 70-81.

ธีรวุฒิ เอกะกลุ. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

วิชชารียา เรื่องไพธิ์. (2553). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์การค้าสยามพารากอน. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

วรฤทัย สุภัทรเกียรติ. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการของลูกค้าในศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซ่า รัชดา – พระราม 3. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ศศิธร คุรุวาณิชย์. (2559). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์การค้าเดอะมอลล์บางแค. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม).

โสริญา ชลารัตน. (2566). พฤติกรรมการเลือกใช้บริการห้างสรรพสินค้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

โสภามาศ เกาะแก้ว. (2564). พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค ณ ศูนย์การค้าในพื้นที่กรุงเทพมหานครภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19. (บริหาธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

อาริชย์ สุรพลชัย. (2553). การศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการเข้ามาใช้บริการของผู้มาใช้บริการศูนย์การค้า กรณีศึกษา ศูนย์การค้าเดอะสแควร์ บางใหญ่. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).

Cheung, E. (2020). Thailand confirms first case of Wuhan virus outside China. South China Morning Post.

Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation, and Control. (8th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice – Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28