การเปรียบเทียบเจตคติและความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ SQ5R

ผู้แต่ง

  • เจนจิรา ทองแย้ม ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประเทศไทย
  • เพชร วิจิตรนาวิน ภาควิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประเทศไทย

คำสำคัญ:

วิธีการเรียนรู้แบบ SQ5R, เจตคติต่อการอ่านนิทานพื้นบ้าน, ความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์นิทานพื้นบ้าน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของการใช้วิธีการเรียนรู้แบบ SQ5R ที่มีต่อเจตคติและความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายโดยเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยเจตคติการอ่านนิทานพื้นบ้านและความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบ SQ5R ประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวิวัฒน์วิทยา (นามสมมุติ) จังหวัดปทุมธานี จำนวน 18 คน ที่ศึกษาในปีการศึกษา 2565 โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดเจตคติที่มีต่อการอ่านนิทานพื้นบ้านซึ่งเป็นแบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ และแบบวัดความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบ SQ5R จำนวน 6 แผน แผนละ 1 คาบ คาบละ 50 นาที ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล จำนวน 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 คาบ รวมทั้งสิ้น 6 คาบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่านัยสำคัญของความแตกต่างโดยใช้สถิติทดสอบ t-test ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการเรียนรู้แบบ SQ5R มีคะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อการอ่านนิทานพื้นบ้านสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการเรียนรู้แบบ SQ5R มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

นริศรา ชยธวัช. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ปิยะนุช เสิศสถิตย์. (2560). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้และความพึงพอใจการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ5R และการสอนแบบปกติ. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

รัชวรรณ พรมลี. (2561). ผลการใช้กลวิธีการสอนอ่านแบบ SQ5R ร่วมกับกลวิธีการสอนอ่านแบบแลกเปลี่ยนบทบาทเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

วนิดา วันภักดี. (2562).การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ5R. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2545). หลักและวิธีการสอนอ่าน. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

อัญชนา ภูริศรี, รุ่งทิวา จันทน์วัฒนวงษ์ และ จุฬามาศ จันทร์ศรีสุคต. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบSQ5R เสริมด้วยเทคนิคแนภูมิความหมายและเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการเขียนสรุปความภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 6. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(33), 315-324.

อุษาวดี ชูกลิ่นหอม. (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการสอนแบบSQ5R. (ศึกษาศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2018). Research Methods in Education. (8th ed.). London: Routledge

Creswell, J. W. & Guetterman, T. C. (2019). Educational Research: Planning, Conducting, and Evaluating Quantitative and Qualitative Research. (6th ed.). New York: Pearson Education.

Denscombe, M. (2017). The Good Research for Small-Scale Social Research Projects. (6th ed.). London: Open University Press, McGraw-Hill Education.

Thomas, G. (2017). How to Do Your Research Project: A Guide for Students. (3rd ed.). London: SAGE Publications.

Woolfolk, A. (2018). Educational Psychology. (14th ed.). Essex: Pearson Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-05