สภาพการบริหารสู่ความเป็นเลิศของงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สถาบันผลิตบัณฑิตวิชาชีพครู หลักสูตรควบระดับปริญญาตรี 2 ปริญญา

ผู้แต่ง

  • กษิฎิฏฏ์ มีพรหม สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา ประเทศไทย
  • สุนทร คล้ายอ่ำ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา ประเทศไทย
  • วสันต์ สรรพสุข สาขาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การบริหารสู่ความเป็นเลิศ, งานฝึกประสบการณ์วิชาชีพ, สถาบันผลิตบัณฑิตวิชาชีพครู, หลักสูตรควบระดับปริญญาตรี 2 ปริญญา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พีงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารสู่ความเป็นเลิศงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพของสถาบันผลิตบัณฑิตวิชาชีพครู หลักสูตรควบระดับปริญญาตรี 2 ปริญญา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารคณะ 3 คน อาจารย์นิเทศก์จากภายนอกมหาวิทยาลัย 7 คน อาจารย์นิเทศก์จากภายในมหาวิทยาลัย 58 คน รวม 68 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNIModified) ผลการศึกษาพบว่า โดยภาพรวม พบว่า สภาพปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก และมีค่าความต้องการจำเป็น โดยด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ 1) ด้านการปฏิบัติการ รองลงมาคือ 2) ด้านบุคลากร 3) ด้านการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 4) ด้านการนำองค์กร 5) ด้านลูกค้า 6) ด้านผลลัพธ์ และ 7) ด้านกลยุทธ์ ตามลำดับ

References

กุลทัต หงส์ชยางกูร และ ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา. (2560). การสร้างและการบริหารเครือข่าย. สงขลา: สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

จันทนา อุดม, นงนุช ไพบูลย์รัตนานนท์, ไพโรจน์ บุตรชีวัน, หะริน สัจเดย์ และ พระครูกาญจนกิจโสภณ. (2563). การเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่องค์กรแห่งนวัตกรรม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 81-90.

ชัชฎาภรณ์ หงษ์นวล. (2561). ปัจฉิมนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. สืบค้น 15 มกราคม 2566. จาก https://www.gotoknow.org/posts/465845.

ณธัชพงศ์ พิสิษนุพงศ์ และ บริษัท โอปูเล้นท์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด. (2561). สภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีความสัมพันธ์ต่อการสร้างความผูกพันองค์กรของข้าราชการและบุคลากร สำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง, 1(1), 64-78.

ธนัสถ์ เกษมไชยานันท์ และ ปิยพงษ์ สุเมตติกุล. (2556). กลยุทธ์การบริหารการตลาดสำหรับหลักสูตรบัณฑิตศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 3(2), 173-181.

พัชรพงษ์ แพงไพรรี และ นริศ เพ็ญโภไคย. (2563). ความสามารถในการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนของผู้ประกอบการศูนย์บริการรถยนต์ในประเทศไทย. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(2), 227-248.

ศิวกร รัตติโชติ. (2561). แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพเพื่อการวิจัยในชั้นเรียนของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. (การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). เกณฑ์ EdPEx. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2066. จาก http://www.edpex.org/p/download-edpex.html.

สุณิสา กัณทะพงศ์, เกียรติชัย กาฬสินธุ์ และ พันธ์ณภัทร์ เศวตภาณุวงศ์. (2559). ปัจจัยของพันธมิตรที่มีผลต่อความสำเร็จในการสร้างคุณค่าที่ใช้ร่วมกันกับสังคม. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 39(4), 649-659.

สุรัตน์ ตันติทวีวรกุล. (2561). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ. กระบี่เวชสาร, 1(2), 63.

อภิชาติ ใจอารีย์. (2022). ศักยภาพและความพร้อมของโรงเรียนเครือข่ายการฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครูสาขาวิชาการจัดการเรียนรู้ (เกษตรกรรมศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(3), 826-847.

Dilpreet Singh & Chandan K Reddy. (2014). A survey on platforms for big data analytics. Journal of Big Data, 2(8), 1-20.

Steven P. Gaskin, Abbie Griffin, John R. Hauser, Gerald M. Katz, & Robert L. Klein. (2014). The Voice of the Customer. Retrieved 2 February 2023. from https://www.researchgate.net/publication/5175997_The_Voice_of_the_Customer.

The National Institute of Standards and Technology (NIST). (2022). Baldrige Excellence Framework 2023–2024. Retrieved 2 February 2023. from https://www.nist.gov/baldrige/publications/baldrige-excellence-framework.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-16