การพัฒนาระบบนิเทศการสอนอิเล็กทรอนิกส์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3

ผู้แต่ง

  • อนุวัฒน์ หนูตะพง สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย
  • ญาณิศา บุญจิตร์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย
  • จิรศักดิ์ แซ่โค้ว สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การนิเทศการสอนภายในสถานศึกษา, การพัฒนาระบบ, ระบบนิเทศการสอนอิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพการนิเทศการสอนในสถานศึกษา (2) เพื่อพัฒนาระบบนิเทศการสอนอิเล็กทรอนิกส์ในสถานศึกษา และ (3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของระบบนิเทศการสอนอิเล็กทรอนิกส์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 310 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูหัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสภาพการนิเทศ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินประสิทธิผล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า สภาพการนิเทศการสอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 มีสภาพการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมาก ประเด็นที่นำไปสู่การพัฒนาระบบคือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกับการนิเทศการสอน การลดใช้กระดาษ และการประมวลผลที่รวดเร็ว แม่นยำยิ่งขึ้น ระบบนิเทศการสอนอิเล็กทรอนิกส์ในสถานศึกษา มีองค์ประกอบคือ (1) การนำเข้าข้อมูล คือ แผนการจัดการเรียนรู้ และวิดีโอกิจกรรมการเรียนรู้ (2) กระบวนการ คือ การประมวลผลคะแนนในระบบ (3) ผลลัพธ์ คือ การรายงานผลการนิเทศการสอน และการประเมินประสิทธิผลของระบบนิเทศการสอนอิเล็กทรอนิกส์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 พบว่า มีประสิทธิผล อยู่ในระดับมากที่สุด จำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการจัดเก็บข้อมูล มีประสิทธิผลสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล ด้านการตรวจสอบข้อมูล ด้านการประมวลผลข้อมูล ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล และ ด้านการนำข้อมูลไปใช้ ตามลำดับ

References

จิราวรรณ คุ้มปลี. (2558). การศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจดระบบสารสนเทศ เพื่อการบริหารโรงเรียนอำเภอคลองใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาตราด. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ชุติวัฒน์ สุวัตถิพงศ์. (2565). Tools ต่างๆ เพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์. สืบค้น 8 มีนาคม 2565. จาก https://sites.google.com/g.stou.ac.th/tools?pli=1.

พรรณมาศ พรมพิลา. (2553). ปัจจัยด้านกระบวนการที่ส่งผลต่อการนิเทศการสอนในโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ศุภรัตน์ จิระโสภา,โสภณ เพ็ชรพวง และ นัฏจรีย์ เจริญสุข. (2564). การพัฒนาคู่มือการนิเทศภายในของโรงเรียนในเครือข่ายท่าฉาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา, 18(80), 23-32.

สมชัย เมาไพร. (2559). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการฝึกอบรม เรื่อง เครื่องหมาย สัญลักษณ์ความปลอดภัย สําหรับพนักงานศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการการกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตาม กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัด การศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. (2565). ข้อมูลทั่วไป. สืบค้น 8 มีนาคม 2565. จาก https://www.surat3.go.th.

สุภาพร แช่ลี่. (2563). การนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเอกชน อำเภอสะเดา สังกัดนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-21