พฤติกรรมของผู้โดยสารและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางทางอากาศภายในประเทศ ช่วงหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คลี่คลายลง

ผู้แต่ง

  • มนปริยา เกิดกมล เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • เสาวลักษณ์ กู้เจริญประสิทธิ์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การเดินทางทางอากาศ, ความตระหนักเรื่องสุขภาพ, โควิด-19

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเดินทางทางอากาศ และ (2) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดการบริการ เปรียบเทียบปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ และปัจจัยด้านความตระหนักเรื่องสุขภาพที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางทางอากาศ ช่วงหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลายลง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เคยเดินทางทางอากาศภายในประเทศ ช่วงเดือนพฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีสถานภาพโสด ระดับการศึกษาสูงสุด คือ ปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีระดับรายได้ 30,001 – 45,000 บาทต่อเดือน เดินทางเพื่อท่องเที่ยวหรือพักผ่อน ในวันธรรมดา ช่วงเวลา 06.01 – 12.00 น. ค่าใช้จ่ายบัตรโดยสารและบริการเสริม โดยเฉลี่ยต่อครั้ง 1,001 – 3,000 บาท และให้ความสำคัญกับด้านผลิตภัณฑ์ในระดับมากที่สุด จากสมการถดถอย ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดการบริการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกายภาพ และด้านกระบวนการ ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางทางอากาศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยตัดสินใจจากความเชื่อมั่นในความปลอดภัย และมาตรฐานการเดินทาง ความรวดเร็วของกระบวนการการเดินทาง ความสะดวกสบายและมีสิ่งอำนวยความสะดวก และจากการทดสอบสมมติฐาน ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด สถานภาพสมรส อาชีพ และรายได้ ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 สำหรับปัจจัยด้านความตระหนักเรื่องสุขภาพ ได้แก่ ระดับความกังวลต่อโรคติดต่อ และการให้ความสำคัญกับบริการด้านสุขภาพ ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จากการศึกษามีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานอุตสาหกรรมการบินควรให้ความสำคัญกับการให้บริการผู้โดยสารที่มีความสะดวกสบาย และกระบวนการขั้นตอนที่รวดเร็ว และให้ความสำคัญกับความตระหนักเรื่องสุขภาพ เนื่องจากผู้โดยสารมีการตัดสินใจเดินทางจากการให้บริการด้านสุขภาพตามมาตรการด้านสาธารณสุข

References

กัลยกร วรกุลลัฎฐานีย์ และ พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช. (2553). การโฆษณาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2565). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทย ปี 2564. กรุงเทพฯ: อินทัช รีเสิร์ช แอนด์ คอนซัลแทนซี

จุฑารัตน์ เหล่าพราหมณ์, ณัฐพงศ์ ประกอบการดี และ ชุลีวรรณ ปราณีธรรม. (2564). วิเคราะห์ผลกระทบของการระบาด COVID-19 ต่อธุรกิจสายการบินและแนวโน้มอนาคตของธุรกิจ สายการบินหลังการระบาด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(1), 113-135.

จุฑารัตน์ เหล่าพราหมณ์, ณัฐพงศ์ ประกอบการดี และ ปอนด์ ทฤษฎิคุณ. (2564). การจัดการการดำเนินงานท่าอากาศยานเพื่อรองรับการเดินทางทางอากาศแบบชีวิตวิถีใหม่. วารสารนักบริหาร, 41(1), 59-68.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ญาณวรุตม์ ธนพัฒน์เจริญ. (2564). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำของตั๋วเครื่องบินภายในประเทศเพื่อการท่องเที่ยวในช่วงวิกฤตโควิค-19. (การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).

ฐาปกรณ์ นาคปานเอี่ยม. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการเลือกใช้ยานพาหนะสำหรับเดินทางมามหาวิทยาลัยรามคำแหงของนักศึกษาปริญญาโท บริหารธุรกิจ. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ทักษิณา แสนเย็น, วรวุฒิ เว้นบาป, วีระพันธ์ ช่วยประสิทธิ์, กุลธวัช ศรายุทธ และอาภาภรณ์ หาโส๊ะ. (2563). บทวิเคราะห์การรับมือโรคโควิด 19: ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบิน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 209-220.

นุสรา เทิงวิเศษ, ดาราวลี แก้วเมือง และ พรรษพร เครือวงษ์. (2564). การศึกษาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ต่อธุรกิจขนส่งสินค้าในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตาก. สืบค้น 3 มิถุนายน 2565. จาก https://citly.me/JbADz.

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). (2564). รายงานสถิติขนส่งทางอากาศ 2020. กรุงเทพฯ: บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน).

พชร สุขวิบูลย์. (2563). การสำรวจพฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วง COVID-19. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

วชิรวัชร งามละม่อม. (2558). แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวกับลักษณะทางประชากรศาสตร์. สืบค้น 3 มิถุนายน 2565. จาก http://learningofpublic.blogspot.com/2015/09/blog-post_11.html.

วัฒนวงศ์ รัตนวราห. (2557). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสวมใส่หมวกนิรภัยโดยการใช้สมการโครงสร้างพื้นฐานทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในสังคมเมืองและชนบท. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2565). รายงานสภาวะอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กองเศรษฐกิจการบิน ฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมการบิน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย.

สุเมธ องกิตติกุล และ ณิชมน ทองพัฒน์. (2563). เตรียมความพร้อมระบบขนส่งสาธารณะไทยในสถานการณ์โควิด-19. สืบค้น 3 มิถุนายน 2565. จาก https://tdri.or.th/2020/05/making-public-transport-safe-from-covid-19/.

สุรเมศวร์ พิริยะวัฒน์. (2551). การวิเคราะห์ความต้องการเดินทาง (Travel Demand Analysis). สืบค้น 3 มิถุนายน 2565. จาก www.surames.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538787407&Ntype=3.

อังคณา ถนอมเกียรติ และ ธนพล อินประเสริฐกุล. (2564). การให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ: การปรับตัวของธุรกิจการบินภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารศิลปะศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4(2), 385-395.

อาริยา สุขโต. (2563). วิกฤตโควิด-19 กับการปรับตัวของธุรกิจการบิน. สืบค้น 3 มิถุนายน 2565. จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/article/article_20210120134825.pdf.

Blockdit. (2564). โครงสร้างอุตสาหกรรมการบิน (Aviation Industry). สืบค้น 3 มิถุนายน 2565. จาก https://www.blockdit.com/posts/60ab4cf6374add0c4f957bbc.

Kotler, P. & Keller, K. L. (2012). Marketing management. (14th ed.). New Jersey: Pearson Education, Inc.

Maiman, L. A., & Becker, M. H. (1974). The health belief model: Origins and correlates in psychological theory. Health education monographs, 2(4), 336-353.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-24