ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุนที่ลงทุนในต่างประเทศของนักลงทุนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
คำสำคัญ:
กองทุนรวม, กองทุนรวมตราสารทุน, กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่ลงทุนในกองทุนรวมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 410 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test, One-way ANOVA และค่าสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 20-30 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-50,000 บาท และมีประสบการณ์การลงทุนในกองทุนรวม 1-5 ปี ผลการวิจัย พบว่า เพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน เป็นปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับการลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ ปัจจัยด้านแรงจูงใจที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ คือ ผลการดำเนินงานในอดีต ปัจจัยด้านนโยบายที่ผู้ลงทุนให้ความสำคัญ คือ ค่าธรรมเนียมกองทุน สำหรับปัจจัยด้านการรับรู้ แหล่งข้อมูลที่ผู้ลงทุนเห็นด้วยว่ามีผลต่อการตัดสินใจลงทุน คือ หนังสือชี้ชวนและสื่อออนไลน์ ซึ่งผู้ลงทุนที่มี อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีการให้ระดับความสำคัญต่อปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุนที่ลงทุนในต่างประเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
กนกดล สิริวัฒนชัย. (2557). การตัดสินใจลงทุนในหุ้นของคนรุ่นใหม่ที่มีอายุระหว่าง 18-48 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต).
จิรัตน์ สังข์แก้ว. (2544). การลงทุน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565). การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศปี 2564. สืบค้น 9 กรกฎาคม 2565. จาก https://www.bot.or.th/Thai/FinancialMarkets/ForeignExchangeRegulations/Pages/ArticlePortfolioInvestmentaboard.aspx.
ประภัสสร วารีศรี และ สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมของนักลงทุนรายย่อยในประเทศไทย. WMS Journal of Managemen, 1(1), 10-19.
มชณต ใยเจริญ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนกองทุนรวมตราสารทุนในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศจีนของนักลงทุนไทย ในช่วงสถานการณ์โควิด-19. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
มนินธ์ปภา จีรวิทย์บุปผา. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในกองทุนของนักลงทุนรายย่อยในเขตกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
วุฒิชัย จำนงค์. (2523). พฤติกรรมการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โอเดียนสโตร์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
สมาคมบริษัทจัดการลงทุน. (2565). กองทุนรวม. สืบค้น 8 กรกฎาคม 2565. จาก http://oldweb.aimc.or.th/21_infostats_rmfltffif.php.
สุธิชา แก้วเกตุ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาวของพนักงานธนาคารกรุงเทพจำกัด(มหาชน) เขตภาคกลาง. วารสารสหวิทยาการวิจัย : ฉบับบัณฑิตศึกษา, 6(1), 107-117.
หลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย. (2565). กองทุน FIF. สืบค้น 8 กรกฎาคม 2565. จาก https://ktam.co.th/globalinvest/th/.
อรรถเดช เทพชัยธนะวงศ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกลงทุนในหน่วยลงทุนประเภทกองทุนรวมต่าง ประเทศของกลุ่มคนทำงานในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.
Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.
Gondaliya, V. (2021). A Study on Factors Influencing Mutual Fund Investment. International Journal of Research in Engineering Science and Management, 4(6), 14-17.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.