ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1

ผู้แต่ง

  • ภัทรรัตน์ ไทรผ่องศรี สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ประเทศไทย
  • กัญญ์รัชการย์ เลิศอมรศักดิ์ สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ผู้บริหารสถานศึกษา, การบริหารสถานศึกษา, ประสิทธิผลของสถานศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 (2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 และ (3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำนวน 328 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ Stepwise Multiple regression analysis ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประสิทธิผลสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการสร้างบารมี ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านการกระตุ้นปัญญา ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษา ในทางบวก โดยมีอำนาจการพยากรณ์ ร้อยละ 91.50

References

ทิพยงค์ รักษาสิน, ลินดา นาคโปรย และ สายฝน เสกขุนทด. (2564). ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 4(4), 31-47.

ธีรศักดิ์ สารสมัคร, ไพรวัลย์โคตรรตะ และ ชวนคิด มะเสนะ. (2563). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษา 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5 “การวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Research to Make A CHANGE)” (น. 348-358). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.

นาตยา ทับยาง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 3(2). 44-63.

พิมพ์ลักษณ์ จันทวงค์. (2557). แบบภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของนักวิชาการศึกษา สังกัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี).

รัตนา งิ้วแหลม. (2546). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูปฐมวัยตามแนวทางปฏิรูปครู ในทัศนะของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสาธิตสังกัดสถาบันราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาระยะ 3 ปี พ.ศ. 2564-2565. สืบค้น 8 กันยายน 2565. จาก http://ptt1.go.th/home/?p=2888.

อมรรัตน์ เตชะนอก. (2563). การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 1-9.

อรวรรณ ภัทรดำเนินสุข. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครูกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

John P. Kotter. (1996). Leading Change. Boston: Harvard Business School Press.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper. & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-15