กลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านสถานีวิทยุของพระสงฆ์ในจังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สนั่น ประเสริฐ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประเทศไทย
  • พระมหาสุพร รกฺขิตธมฺโม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประเทศไทย
  • พระยุทธนา อธิจิตฺโต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประเทศไทย

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การเผยแผ่, พระพุทธศาสนา, สถานีวิทยุ, พระสงฆ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางสถานีวิทยุของพระสงฆ์ (2) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางสถานีวิทยุของพระสงฆ์ในจังหวัดร้อยเอ็ด และ (3) เพื่อเสนอกลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางสถานีวิทยุของพระสงฆ์ในจังหวัดร้อยเอ็ด งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย 55 รูป/คน เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า การเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านสถานีวิทยุของพระสงฆ์ ผู้ฟังได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมด้วย สถานีวิทยุมีการนำเสนอเนื้อหาที่หลากหลายและมีความเป็นท้องถิ่น สภาพปัญหาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านสถานีวิทยุของพระสงฆ์ในจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ปัญหาสำคัญมี 2 อย่าง คือ ความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสารสนเทศ และความสนใจของผู้ฟัง กลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านสถานีวิทยุของพระสงฆ์ในจังหวัดร้อยเอ็ด ได้แก่ 1) การพัฒนาทักษะการใช้สื่อสมัยในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา สถานีวิทยุต้องมีการปรับรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาใหม่โดยอาศัยสื่อสมัยใหม่เป็นเครื่องมือเพื่อเข้าถึงรายการของสถานีวิทยุ 2) การพัฒนาทักษะการสื่อสารหรือการเผยแผ่ของนักจัดรายการ/นักเผยแผ่ ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือการสื่อสารหรือการนำเสนอที่น่าสนใจของผู้เผยแผ่ เช่น วาทศิลป์ เทคนิคการเผยแผ่ เป็นต้น 3) การมีส่วนร่วมของผู้ฟัง สถานีวิทยุควรได้มีการทำกิจกรรมให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม เช่น ตลาดนัดธรรมะวันอาทิตย์ การจัดตั้งชมรมคนฟังสถานี การเยี่ยมให้กำลังใจผู้ป่วยติดเตียงที่เป็นสมาชิกของชมรม การศึกษาดูงานและทำบุญ เป็นต้น

References

ณรงค์ สมพงษ์. (2543). สื่อสารมวลชนเพื่องานส่งเสริม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นาวิน วงศ์สมบุญ และ ลดาวัลย์ แก้วสีนวล. (2561). รูปแบบและเนื้อหาของรายการวิทยุกระจายเสียงต้นแบบสำหรับแม่ที่มีลูกวัย 0-5 ปี. วารสารวิทยาการจัดการ, 5(2), 45-66.

พจนารถ สุพรรณกูล. (2562). การเผยแผ่พระพุทธศาสนากับเทคโนโลยีสารสนเทศ. สืบค้น 10 สิงหาคม 2562. จาก https://channarongs22.wordpress.com.

พระครูโฆษิตสังฆพิทักษ์. (2560). กลยุทธ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทยในสังคมปัจจุบัน. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 17(3), 211-223.

พระครูวรญาณวิเทศ วิ. (พิพัฒนพร กิตฺติสุโภ). (2560). กลยุทธ์บริหารการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในประเทศออสเตรเลีย. (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระครูวินัยธรปัญญา ปญฺญาวโร (ศรีสมุทร) และ บุญเตือน ทรัพย์เพชร. (2564). การจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนายุคดิจิทัล. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 423-433.

พระณปวร โทวาท. (2560). ต้นแบบการบริหารจัดการเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาประจำจังหวัดในประเทศไทย. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม).

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ-ราชวิทยาลัย.

พระนัฐวุฒิ สิริจนฺโท (ศรีจันทร์). (2561). คุณสมบัติของพระนักเผยแผ่ที่พึงประสงค์ในสังคมยุคใหม่ในอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระมหาทองสุข สุเมโธ (ไทยทนุ) และ พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ. (2563). พุทธวิธีการสื่อสารการเผยแผ่ของสถานีวิทยุพระพุทธศาสนาในจังหวัดอุดรธานี. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(4), 460-478.

พระมหาสุเทพ สุวฑฺฒโน (เหลาทอง). (2562). กลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(3), 1363-1377.

พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ธิตญาโณ). (2540). พุทธวิธีเผยแผ่พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงาน กสทช. (2563). ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง. สืบค้น 10 สิงหาคม 2563. จาก https://broadcast.nbtc.go.th/radio-radio_test-radio_newlist.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2539). พระไตรปิฏกฉบับสำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

องค์การเผยแผ่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร. (2546). วิชาการเทศนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-21