รูปแบบและการปรับตัวของผู้ค้าหาบเร่แผงลอยในพื้นที่อุทยานสวรรค์ เขตเทศบาลนครนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • รัชพล เลาสุขศรี นิสิตปริญญาโท ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประเทศไทย
  • ดาริน คงสัจวิวัฒน์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ผู้ค้าหาบเร่แผงลอย, อุทยานสวรรค์, เทศบาลนครนครสวรรค์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานของเทศบาลนครนครสวรรค์ในการนำนโยบายการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยไปปฏิบัติในพื้นที่อุทยานสวรรค์ เขตเทศบาลนครนครสวรรค์ และ (2) เพื่อศึกษารูปแบบและการปรับตัวของผู้ค้าหาบเร่แผงลอยที่ได้รับผลกระทบจากการนำนโยบายไปปฏิบัติของเทศบาลนครนครสวรรค์ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ เจ้าหน้าที่เทศกิจของเทศบาลนครนครสวรรค์จำนวน 4 ราย และผู้ค้าหาบเร่แผงลอยบริเวณอุทยานสวรรค์จังหวัดนครสวรรค์จำนวน 60 ราย ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยการแบ่งครึ่ง และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยมีเกณฑ์การคัดเข้าและเกณฑ์การคัดออก จากจำนวนประชากรส่งผลให้ได้กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่เทศกิจ จำนวน 2 ราย และผู้ค้าหาบเร่แผงลอย จำนวน 30 ราย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า เทศบาลนครนครสวรรค์นำนโยบายการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่มากกว่าก่อนที่จะมีการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอย รูปแบบและการปรับตัวของผู้ค้าหาบเร่แผงลอยที่ได้รับผลกระทบจากการนำนโยบายไปปฏิบัติของเทศบาลนครนครสวรรค์คือผู้ค้าสามารถปรับตัวตามนโยบายการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยอย่างเคร่งครัด รวมถึงไม่สร้างปัญหาในพื้นที่เพิ่มเติม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทำให้ผู้ค้ากับเจ้าหน้าที่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

References

กล้า ทองขาว. (2551). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชานโยบายสาธารณะและการวางแผน หน่วยที่ 6 เรื่องการนำนโยบาย ไปปฏิบัติ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณัฐพงศ์ เปรมพูลสวัสดิ์ และ จาตุรงค์ โพคะรัตน์ศิริ. (2561). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการค้าหาบเร่แผงลอยกับลักษณะเชิงพื้นที่ของเมือง กรณีศึกษา: ย่านรามคำแหง กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม การผังเมือง, 15(2), 1-16.

นภัสวรรณ สุภาวรรณ. (2559). ประสิทธิผลของการนานโยบายการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยกรุงเทพมหานครไปปฏิบัติ กรณีศึกษา พื้นที่ปากคลองตลาด. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

นฤมล นิราทร. (2560). การบริหารจัดการการค้าข้างทาง (Street Vending) ในประเทศไทย : สถานการณ์และทิศทางนโยบายที่ควรจะเป็น (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บวร ทรัพย์สิงห์ และ วิชยา โกมินทร์. (2562). การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับหาบเร่แผงลอยในย่านสีลม. วารสารวิจัยสังคม, 42(2), 201-230.

ประสิทธิ์ ตงยิ่งศิริ. (2542). การวางแผนและการวิเคราะห์โครงการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ลักขณา สริวัฒน์. (2544). จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์,

วันชัย คุ้มตลอด และ วราภรณ์ จุลปานนท์. (2562). การจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยในพื้นที่เมืองพัทยาอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

สุจิตรา สามัคคีธรรม. (2560). พฤติกรรมทางเศรษฐกิจของหาบเร่แผงลอย: กรณีศึกษาเขตบางเขน. วารสารร่มพฤกษ์, 35(3),158-176.

เอกรินทร์ ศิโรรัตนชัย. (2563). ขีดความสามารถของกรุงเทพมหานครในการดำเนินนโยบายรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(2), 84-100.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-17