แนวปฏิบัติในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อความผูกพันกับองค์กรของพนักงาน : กรณีศึกษาบริษัทในอุตสาหกรรมสายการบิน
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์, ความผูกพันกับองค์กรของพนักงาน, อุตสาหกรรมสายการบินบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ปัจจัยวัฒนธรรมองค์กร และปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันกับองค์กรของพนักงานบริษัทสายการบินแห่งหนึ่ง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสำรวจด้วยแบบสอบถาม จำนวน 392 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ได้แก่ ค่าสถิติ T-Test และ ค่าสถิติ F-Test และการวิเคราะห์โดยใช้เศรษฐมิติ ได้แก่ การวิเคราะห์ผ่านแบบจำลองการถดถอยโลจิสติกแบบทวิ (Binary Logistic Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันกับองค์กรของพนักงานบริษัทสายการบินแห่งหนึ่งอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ซึ่งประกอบไปด้วย เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษาสูงสุด ตำแหน่งงาน ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ปัจจัยด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งประกอบไปด้วย การสรรหา การคัดเลือก การฝึกอบรมพัฒนา การประเมินผลการปฏิบัติงาน และค่าตอบแทน-สิทธิประโยชน์ ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงาน ประกอบด้วย ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ ความต้องการได้รับการยกย่อง และความต้องการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง และปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร ประกอบด้วย ค่านิยม เรื่องราวขององค์กร ระดับความมั่นคง พิธีการ-แนวทางปฏิบัติ และความรู้สึกเป็นเจ้าของ
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). หลักสถิติ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เจริญรัตน์ รัตนวัฒนาธร. (2549). ความเครียดของพนักงานรับจองตั๋วเครื่องบินทางโทรศัพท์ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ธวัชชัย กิตติศรีบูรณ์กุล. (2549). ศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางทางการบินในภูมิภาคเอเชีย กรณีศึกษาความได้เปรียบเชิงแข่งขันของสายการบินไทยกับสายการบินสิงคโปร์. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ปราชญา กล้าผจญ และ พอตา บุตรสุทธิวงศ์. (2550). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 11(2), 183-197.
ปาริชาต บัวเป็ง. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท ไดกิ้น อินดัสทรีส์ ประเทศไทย (จำกัด). (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมลคลธัญบุรี).
ปิยาพร ห้องแซง. (2555). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานสาขาธนาคารออมสิน ในเขตกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
แหวนเพชร ไชยะวง และ ฐิติมาไชยะวง. (2563). วัฒนธรรมองค์กรและความผูกพันต่อองค์การของพนักงานกลุ่มธนาคารพาณิชย์รัฐในนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว. วารสารวิจัย มข. สาขามนุษยศษสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับบัณทิตศึกษา), 8(1), 127-139.
Allen, N. J., & Meyer, J. P. (1990). Organizational socialization tactics: A longitudinal analysis of links to newcomers' commitment and role orientation. Academy of management journal, 33(4), 847-858.
Cherrington, D. J. (1994). Organizational behavior: The management of individual and organizational performance. (2nd ed). Boston: Allyn & Bacon.
Mewujudkan (2022). Fostering Employee Engagement thought Human Resource Practices: A Case Study of Manufacturing Firm in Malaysia. Retrieved 28 November 2022. from https://www.researchgate.net/publication/281190385.
Shaheed k. (2018). Influence of Human Resource Management Practice on employee engagement in Developing Economy. Retrieved 15 December 2022. from https://www.researchgate.net/publication/33211544.
Taro Yamane. (1967). Elementry sampling theory. New Jersey: Prentice Hall.
Uju Violet A. (2020). The Impact of Human Resource Practices on Employee Engagement in Airline Industry. Retrieved 2 November 2022. from https://www.researchgate.net/publication/341250073.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.