ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการรถขนส่งสาธารณะระดับ Microtransit ของผู้เดินทางในกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษา รถสามล้อไฟฟ้า MuvMi

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ ศิริเกษ นิสิตปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • มานะ ลักษมีอรุโณทัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ระดับ Microtransit, รถสามล้อไฟฟ้า MuvMi, รถขนส่งสาธารณะ, ปัจจัยที่มีอิทธิพล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการรถขนส่งสาธารณะระดับ Microtransit ของผู้เดินทางในกรุงเทพมหานคร โดยเน้นการศึกษาไปที่กรณีศึกษา รถสามล้อไฟฟ้า MuvMi ซึ่งเป็นระบบขนส่งสาธารณะที่น่าสนใจในเมืองหลวงในช่วงเวลาปัจจุบัน งานวิจัยนี้สำรวจปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์และพฤติกรรม ส่วนประสมทางการตลาด (7P) และการยอมรับเทคโนโลยี โดยใช้แบบสอบถามที่มีผู้เข้าร่วมจำนวน 415 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการถดถอยโลจิสติกแบบทวิ (Binary Logistic Regression Analysis) ซึ่งปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ MuvMi ได้แก่ อาชีพ รูปแบบการเดินทางหลัก ค่าใช้จ่ายโดยรวมในการเดินทางต่อวัน การส่งเสริมการตลาด ลักษณะทางกายภาพ และความง่ายในการใช้งาน อย่างไรก็ตาม การใช้สมาร์ทโฟนไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้บริการนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเลือกใช้บริการ ผู้ประกอบการรถสามล้อไฟฟ้า MuvMi ควรต้องปรับปรุงรถสามล้อไฟฟ้าให้มีความทันสมัยได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย รวมถึงจัดให้มีการฝึกอบรมพนักงานขับรถเพื่อให้บริการได้ในมาตรฐานเดียวกันอย่างครอบคลุม นอกจากนี้ การส่งเสริมยานพาหนะที่มีนวัตกรรมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถกระตุ้นการใช้ระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานครให้เพิ่มขึ้นได้

References

กมล สการะเศรณี. (2557). การตัดสินใจใช้บริการแท็กซี่ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นในเขตกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง).

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2564). นโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล. สืบค้น 15 มิถุนายน 2565. จาก https://energy.go.th/th/government-energy-policy/29873.

ชุตินันท์ เชี่ยวพานิชย์. (2563). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมที่มีต่อการตัดสินใจใช้บริการ Application Grab ของเจเนอเรชั่น C ในเขตกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ปณียา อินทกาศ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการเรียกรถโดยสารส่วนบุคคล (Grab Car) ผ่านแอปพลิเคชัน Grab ของประชาชนในเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร. ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต 2563, 1 พฤษภาคม 2563 (น. 881-890). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

พิชาพัทธ์ วิเศษอัครโชต. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ระบบการให้บริการคมนาคมขนส่งผ่านแอพพลิเคชัน Grab. (การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.)

ยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์. (2548). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วชิรวัชร งามละม่อม. (2558). แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับลักษณะทางประชากรศาสตร์. สืบค้น 8 กรกฎาคม 2565. จาก http://learningofpublic.blogspot.com.

วัฒนา เล้าสินวัฒนา. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสารในรูปแบบรถยนต์. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26, 23-25 มิถุนายน 2564, (น. 1-9). กรุงเทพฯ: วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย.

ศรนรินทร์ หลีฮวด. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้แอปพลิเคชันเรียกรถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะของผู้ใช้บริการกลุ่มเจเนอเรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. (2562). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ฉบับปรับปรุง. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2566. จาก https://www.otp.go.th/post/view/4012.

สุวิภา รักษ์วงศ์ตระกูล. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการเรียกรถโดยสาร Taxi ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น Grab ในเขตกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

เสาวนิธิ อยู่โพธิ์. (2561). การวิเคราะห์ถนนในกรุงเทพมหานคร. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2565. จาก https://www.facebook.com/innithi/posts/10156246058728369.

Bardaka, E., Hajibabai, L., & Singh, M. P. (2020). Reimagining ride sharing: Efficient, equitable, sustainable public microtransit. IEEE Internet Computing, 24(5), 38-44.

Bills, T. S., Twumasi-Boakye, R., Broaddus, A., & Fishelson, J. (2022). Towards transit equity in Detroit: An assessment of microtransit and its impact on employment accessibility. Transportation Research Part D: Transport and Environment, 109, 103341.

Haglund, N., Mladenović, M. N., Kujala, R., Weckström, C., & Saramäki, J. (2019). Where did Kutsuplus drive us? Ex post evaluation of on-demand micro-transit pilot in the Helsinki capital region. Retrieved 2 November 2022. from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2210539519300999.

He, J., & Ma, T. Y. (2022). Examining the factors influencing microtransit users’ next ride decisions using Bayesian networks. European Transport Research Review, 14(1), 1-14.

Kotler, P. (2012) Marketing Management. (14th Ed.). Edinburgh Gate: Pearson Education Limited.

Kotler, P., & Armstrong, G.. (1990). Market an Introduction. (2nd Ed.). New Jersey: Prentice-Hall, Inc.

Miah, M. M., Naz, F., Hyun, K. K., Mattingly, S. P., Cronley, C., & Fields, N. (2020). Barriers and opportunities for paratransit users to adopt on-demand micro transit. Retrieved 2 November 2022. from https://www.researchgate.net/profile/Mdmintu-Miah-Phd/publication/336485228_Barriers_and_Opportunities_for_Paratransit_Users_to_Adopt_On-Demand_Micro_Transit/links/6025705992851c4ed5666995/Barriers-and-Opportunities-for-Paratransit-Users-to-Adopt-On-Demand-Micro-Transit.pdf.

Ongel, A., Loewer, E., Roemer, F., Sethuraman, G., Chang, F., & Lienkamp, M. (2019). Economic assessment of autonomous electric microtransit vehicles. Sustainability, 11(3), 1-18.

United Nation. (2018). World Urbanization Prospects 2018. Retrieved 10 July 2022. from http://www.population.un.org.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-23