การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพของงาน สำหรับหัวหน้ากลุ่มงานในสถานศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร

ผู้แต่ง

  • ณัฐกฤตา สุทิน มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย
  • นันทพงศ์ หมิแหละหมัน มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย
  • จิรศักดิ์ แซ่โค้ว มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, ประสิทธิภาพของงาน, หัวหน้ากลุ่มงานในสถานศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวัง (2) พัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม (3) ตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพของงาน สำหรับหัวหน้ากลุ่มงานในสถานศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และหัวหน้ากลุ่มงาน จำนวน 170 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.84 ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงวัตกรรม ตรวจสอบความเหมาะสมด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 ท่าน โดยใช้แบบตรวจสอบค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และหัวหน้ากลุ่มงาน จำนวน 170 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน และสภาพที่คาดหวังของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ ด้านการมีวิสัยทัศน์ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา ด้านการสร้างเครือข่ายและการทำงานแบบมีส่วนร่วม และด้านการสร้างบรรยากาศขององค์กรแห่งนวัตกรรม 2) รูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (2.1) ตัวป้อน การให้องค์ความรู้ที่จำเป็น (2.2) กระบวนการการทำให้เกิดทักษะ (2.3) ผลผลิต สมรรถนะของหัวหน้างานที่เกิดจากการพัฒนา และ (2.4) ข้อมูลป้อนกลับ 3) ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพของงาน สำหรับหัวหน้ากลุ่มงานในสถานศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร พบว่า รูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากทุกด้าน

References

จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.

ไชยา ภาวะบุตร. (2563). หลักทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ธนัทพงษ์ วังทะพันธ์ (2564). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของ โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม. (การบริหารการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

นันทวดี พุ่มเกิด. (2562). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. (ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์).

เนาวนิตย์ สงคราม. (2556). การสร้างนวัตกรรม : เปลี่ยนผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

บุณรดา ทรงบุญศาสตร์. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

เบญจมาศ ขวาไทย (2565). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. (การบริหารการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

พัชชานันท์ โภชฌงค์ (2562). บรรยากาศองค์การกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3. (การบริหารการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2549). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นตรงของประสิทธิผลภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน. (ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2554). สัมมนาทฤษฎีองค์กรและการจัดการ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2564. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร. สุราษฎร์ธานี : กลุ่มนโยบายและแผน.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2565. สำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร. สุราษฎร์ธานี: กลุ่มนโยบายและแผน.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566. สำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร. สุราษฎร์ธานี: กลุ่มนโยบายและแผน.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุริยา สรวงศิริ. (2564). องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสาวณีย์ สมบูรณ์ศิโรรัตน์ (2562). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. (การบริหารการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

อรรถชัย แนวเงินดี. (2564). รูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ในศตวรรษที่ 21. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

Kotter, J. P. (1996). Leading change. Boston: Harvard Business School. Visionary Leadership: Creating a Compelling Sense of Direction for Your organization. San Francisco, CA: Jossey-Bass.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Yuki, G. A. (1998). Leadership in Organization. (4th ed.). New Jersey: Printice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28