ข้อท้าทายและการฟื้นคืนชีวิตในชุมชนของแรงงานคืนถิ่นนอกระบบคนรุ่นใหม่ในภาคการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • จิตราภรณ์ สมยานนทนากุล วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประเทศไทย
  • ปาริฉัตร ดอกแก้ว นักวิจัยร่วมในโครงการการเสริมพลังและความเข้มแข็งให้แรงงานนอกระบบโดยการมีส่วนร่วมโดยคนรุ่นใหม่ ประเทศไทย
  • จีรนันท์ บุญครอง นักวิจัยร่วมในโครงการการเสริมพลังและความเข้มแข็งให้แรงงานนอกระบบโดยการมีส่วนร่วมโดยคนรุ่นใหม่ ประเทศไทย
  • เยาวลักษณ์ บุญตา นักวิจัยร่วมในโครงการการเสริมพลังและความเข้มแข็งให้แรงงานนอกระบบโดยการมีส่วนร่วมโดยคนรุ่นใหม่ ประเทศไทย
  • อรรถพล สิงพิลา นักวิจัยร่วมในโครงการการเสริมพลังและความเข้มแข็งให้แรงงานนอกระบบโดยการมีส่วนร่วมโดยคนรุ่นใหม่ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

แรงงานนอกระบบคนรุ่นใหม่, แรงงานคืนถิ่น, คนรุ่นใหม่, อาสาคืนถิ่น, การพัฒนาทักษะของแรงงานนอกระบบ, ข้อท้าทายและการฟื้นคืนชีวิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่ออธิบายสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมก่อนและหลังการกลับบ้าน และ (2) เพื่อพรรณนาให้เห็นภาพรวมของการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อแก้ไขปัญหาและการปรับตัวของแรงงานนอกระบบซึ่งเป็นกลุ่มแรงงานคืนถิ่นคนรุ่นใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่อยู่ในภาคการเกษตร เพื่อตอบวัตถุประสงค์ทั้งสองประการข้างต้น การวิจัยนี้จึงมุ่งพัฒนาแกนนำซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบและเป็นคนรุ่นใหม่ให้สามารถเก็บข้อมูลสถานการณ์ของแรงงานนอกระบบในพื้นที่ของตนเองได้ ผ่านการวิจัยเชิงผสมผสานโดยใช้เครื่องมือ 2 ชนิด คือ แบบสำรวจ และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อแรกพบว่า ก่อนกลับบ้านกลุ่มเป้าหมายเคยทำงานต่างถิ่นโดยเฉลี่ย คือ 6 ปี ส่วนใหญ่มีหนี้สินกลับมา สำหรับสภาพหลังจากการกลับบ้านแม้พวกเขาจะพึงพอใจที่ได้กลับบ้าน แต่ก็ยังมีความกังวลในเรื่องของการประกอบอาชีพว่าจะสามารถใช้หนี้สินที่มีอยู่ มีเงินลงทุน และเป็นเงินออมต่อไปในอนาคตได้หรือไม่ สำหรับวัตถุประสงค์ข้อที่สองของการวิจัย พบว่า พวกเขาต้องปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตของชุมชน โดยเฉพาะการต่อสู้กับแรงกดดันของครอบครัวและชุมชน และต้องทำหน้าที่ในการช่วยเหลือคนในครอบครัวและเผื่อแผ่ไปยังคนในชุมชน นอกจากนั้นจากสถานการณ์การผลิตที่พวกเขาเผชิญอยู่ ทำให้พวกเขาพบช่องว่างของทักษะของตนเอง และมีความต้องการ re-skill และ up-skill ด้านการเกษตรสมัยใหม่ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้ จากสถานการณ์ดังกล่าว นำมาสู่การสร้างข้อเสนอเชิงนโยบายว่า หากต้องการพัฒนาศักยภาพของแรงงานนอกระบบซึ่งเป็นกลุ่มแรงงานคืนถิ่นคนรุ่นใหม่ซึ่งกลับเข้าไปอยู่ในภาคการเกษตรนั้น มีข้อเสนอ 2 ประการคือ การค้นหาแนวทางและมาตราการเพื่อจัดการจัดการกับภาระหนี้สินของแรงงานกลุ่มนี้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรสร้าง “เมนู” สำหรับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการและการใช้เวลาของแรงงานกลุ่มนี้ ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้นี้ถูกนำเอาไปใช้ในระยะที่สองของโครงการคือ การสร้างแนวทางในการส่งเสริมศักยภาพของแรงงานนอกระบบซึ่งเป็นกลุ่มแรงงานคืนถิ่นคนรุ่นใหม่ ต่อจากนั้นบทเรียนในการดำเนินงานของแรงงานกลุ่มดังกล่าวจะนำไปสู่การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนแรงงานนอกระบบซึ่งเป็นกลุ่มแรงงานคืนถิ่นคนรุ่นใหม่ต่อไป

References

กองบรรณาธิการ The Active. (2565). ‘อาสาคืนถิ่น’ พบ แนวโน้มคนรุ่นใหม่ กลับบ้านเพิ่มขึ้น. The Active. จาก https://theactive.net/news/social-movement-20221224/.

จารุวรรณ มณีราช. (2555). คุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ฐาปนี ชุมพลวงศ์, นริศรา ภาษิตวิไลธรรม และ กิ่งแก้ว ทิศตึง. (2564). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบภาคการเกษตรในเขตชุมชน ตำบลเสริมขวา อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 15(3), 97-107.

ณัคนางค์ กุลนาถศิริ และ วรรักษ์ รสมนตรี. (2565). การเดินทางครั้งใหม่บนเส้นทางเศรษฐกิจชุมชนของแรงงานคืนถิ่น. กรุงเทพธุรกิจ. ฉบับที่ 7/2565. สืบค้น 29 มีนาคม 2565. จาก https://www.bangkokbiznews.com/columnist/996200.

ทศพล บุตรมี, กานต์พิชชา เกียรติกิจโรจน์ และ พีรญา อึ้งอุดรภักดี. (2557). ภาวะสุขภาพและสภาพการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพของแรงงานนอกระบบภาคการเกษตร จังหวัดพิษณุโลก. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 7(26), 17-26.

พชรพร ครองยุทธ และ อดิเรก เร่งมานะวงษ์. (2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพแรงงานนอกระบบภาคการเกษตรในช่วงชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) จังหวัด ขอนแก่น. Thailand Journal of Health Promotion and Environmental Health-วารสารการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม, 44(3), 78-89.

พรชัย พรประทีปกุล. (2550). ผลกระทบของแรงงานคืนถิ่นต่อชุมชนชาวเขาเผ่าปกาเกอะญอ. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

รัตนากรณ์ ภู่เจนจบ. (2565). อิทธิพลของการปรับตัวจากผลกระทบโควิด-19 ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของ แรงงานนอกระบบในเขตอำเภอ เมือง จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 5(2), 1-18.

วจนา วรรลยางกูร. (2566). โฮมทาวน์ ช้ำ-ช้ำ-ช้ำ: ภาพฝันที่ไม่เป็นจริง เมื่อคนรุ่นใหม่กลับบ้านเกิด. the101world. สืบค้น 29 มีนาคม 2566. จาก https://www.the101.world/moving-back-home/.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). (2564). โครงการประเมินผลกระทบของโควิด-19 ต่อสังคมและเศรษฐกิจ. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.). สืบค้น 16 ธันวาคม 2565. จาก https://tdri.or.th/2021/01/covid-106/.

สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2565). สำรวจสถานการณ์แรงงานนอกระบบ: บทสำรวจเครือข่าย สถานะองค์ความรู้ ความเสี่ยง และแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ.2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สุเนตร สุวรรณละออง. (2565). ผลกระทบของความปรกติใหม่ที่มีต่อแรงงานนอกระบบในเขตเมือง จังหวัด ชลบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(7), 2907-2919.

อุปลัทธิ์ กอวัฒนสกุล. (2565). แรงงานนอกระบบในไทย: ความเหลื่อมล้ำ ค่าแรง และความเสี่ยงในการทำงาน. สืบค้น 29 มีนาคม 2565. จาก https://citly.me/2ovU5.

Sindecharak, T., & Kwanyou , A. (2021). “Informal Employed Workers” The Suffering of a Working Life without Social Security. Thammasat Review, 24(1), 1–18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-25