ผลของการจัดการเรียนรู้แบบ RASEP Model สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

ผู้แต่ง

  • อรรถพงษ์ ผิวเหลือง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ประเทศไทย
  • ชุ่ม พิมพ์คีรี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ผลของการจัดการเรียนรู้แบบ RASEP Model, คุณลักษณะผู้สอน, นักศึกษาระดับปริญญาตรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบ RASEP Model สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี และ (2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะผู้สอนในการจัดการเรียนรู้แบบ RASEP Model การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการสอนภาษาไทย จำนวน 65 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการเรียนรู้แบบ RASEP Model บันทึกถึงผู้สอน และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผลการจัดการเรียนรู้แบบ RASEP Model สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในภาพรวมแต่ละด้านพบว่า นักศึกษามีความเห็นว่าการจัดการเรียนรู้แบบ RASEP Model สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด โดยผลที่นักศึกษาได้รับมากที่สุด คือ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ รองลงมาคือ ด้านทักษะทางปัญญาและด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยี ด้านวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ และด้านคุณธรรมจริยธรรม ผลที่นักศึกษาได้รับน้อยที่สุด คือ ด้านความรู้ ส่วนคุณลักษณะผู้สอนในการจัดการเรียนรู้แบบ RASEP Model นักศึกษามีความคิดเห็นในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกและกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้มีความมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ผู้สอนมีการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ และผู้สอนคอยช่วยเหลือให้คำแนะนำแก่นักศึกษาในการปฏิบัติทำงาน และผู้สอนบูรณาการเนื้อหากับการจัดการเรียนรู้ได้เหมาะสม  นักศึกษามีความคิดเห็นในระดับน้อยที่สุด คือ ผู้สอนส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะการเรียนรู้

References

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นนทลี พรธาดาวิทย์. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.

นนทลี พรธาดาวิทย์. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในวิชาการจัดการเรียนรู้. วารสารวิจัย UTK ราชมงคลกรุงเทพ, 11(1), 85–94.

ไพศาล บรรจุสุวรรณ์. (2562). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ในการยกระดับความรู้สู่ความเข้าการเมืองและประชาธิปไตยในเชิงเปรียบเทียบ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรมมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 8(1), 166-190.

สิทธิพล อาจอินทร์. (2562). ศาสตร์และศิลป์การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.

อรรถพงษ์ ผิวเหลือง. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบ RASEP Model. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 4(1), 19–26.

Bean, J. C. (2011). Engagaing Ideas: The Professor’s Guide to Integrating Writing, Critical Thinking and Active Learning in the Classroom. (2nded.). San Francisco: Jossey-Bass.

Bonwell, C. & Eison, J. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. Retrieved 2 September 2022. from https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED336049.pdf.

Dale, Edgar. (1946). Audio-Visual Methods in Teaching. New York: The Dryden Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-09