การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านการจัดการเรียนการสอนโค้ดดิ้ง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • ศุภราช แก้วมีศรี มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย
  • จิรศักดิ์ แซ่โค้ว มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย
  • ญาณิศา บุญจิตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ, การจัดการเรียนการสอนโค้ดดิ้ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนโค้ดดิ้ง (2) พัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านการจัดการเรียนการสอนโค้ดดิ้ง (3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านการจัดการเรียนการสอนโค้ดดิ้ง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 24 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสัมภาษณ์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.6 – 1.00 และแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.6 – 1.00 มีค่าทั้งฉบับเท่ากับความเชื่อมั่น .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า การจัดการเรียนการสอนโค้ดดิ้งมีปัญหาเกี่ยวกับ ความรู้ความสามารถของครูผู้สอน กระบวนการในการจัดการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน การสนับสนุนเรื่องงบประมาณ อาคารสถานที่ที่จะใช้เป็นที่จัดการเรียนการสอน และงบประมาณในการไปแข่งขันในระดับต่างๆ ได้ตลอดทั้งปีการศึกษา ผลการสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านโค้ดดิ้ง ได้รูปแบบ S’CN4M : AR ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านการจัดการเรียนการสอนโค้ดดิ้ง พบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

References

จตุรภัทร ประทุม, ประยูร อิ่มสวาสดิ์ และ สมพงษ์ ปั้นหุ่น. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 27(2), 119-130

ธร สุนทรายุทธ. (2561). การบริหารจัดการเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์.

วันเพ็ญ รักเสนาะ. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ความคงทนและความชอบทางการเรียนจากบทเรียนแผนภาพโปร่งใสที่ใช้ภาพเดี่ยวและภาพเปรียบเทียบในการเขียนการ์ตูนโครงร่างลายเส้น. (ครุศาสตรอุตสาหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ).

สกล ธรรมวงศ์. (2560). Lab Boy ผู้สอนคิดด้วยหุ่นยนต์ พัฒนาการเรียนรู้ บูรณาการชีวิตด้วย ประสบการณ์. กรุงเทพฯ: สหายบล็อกและการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). รูปแบบการบริหารและการจัดการศึกษาแบบกระจายอำนาจ. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานบริหารและจัดการศึกษา.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุภางค์ จันทวานิช. (2560). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อังคณา นาเจริญ. (2560). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28