การพัฒนาระบบแชทบอทเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการสถานศึกษา สำหรับโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร

ผู้แต่ง

  • ภัทรภูมิ บุญเพียง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย
  • จิรศักดิ์ แซ่โค้ว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย
  • นันทพงศ์ หมิแหละหมัน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย

คำสำคัญ:

แชทบอท, การบริหารจัดการสถานศึกษา, การพัฒนาระบบ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการระบบแชทบอทเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการสถานศึกษา (2) พัฒนาระบบแชทบอทเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการสถานศึกษา และ (3) ทดลองใช้และประเมินผลการใช้ระบบแชทบอทเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการสถานศึกษา สำหรับโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มบริหารงานวิชาการ กลุ่มบริหารงานทั่วไป กลุ่มบริหารงานบุคคล หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครูผู้สอน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีแบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินผลการทดลองใช้ระบบแชทบอท สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของระบบแชทบอทเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการสถานศึกษา ภาพรวมมีระบบแชทบอทอยู่ในระดับน้อย ความต้องการระบบแชทบอทโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ประเด็นที่นำไปสู่การพัฒนาระบบคือ การนำเทคโนโลยีแชทบอทมาใช้ร่วมกับการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ค้นหา บันทึก และแก้ไขผ่านระบบแชทบอทได้ตลอดเวลา 2) ระบบแชทบอทเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการสถานศึกษา เป็นระบบที่มีความสามารถดังนี้ คือ 1 ทำงานตามคำสั่ง 2 ใช้งานตามวัตถุประสงค์ 3 แบบมีปุ่มกดเมนู 3) ผลการทดลองใช้ระบบ แชทบอทเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการสถานศึกษา พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านความสะดวกสบายต่อการใช้งาน มีผลการประเมินสูงสุด รองลงมาด้านความปลอดภัย ด้านความเหมาะสมของระบบ แชทบอท ด้านประมวลผลข้อมูล ด้านนำข้อมูลไปใช้ และด้านภาพรวมของระบบ ตามลำดับ

References

เกียรติพันธ์ศักดิ์ บิลอับดุลล่าห์. (2564). การประยุกต์ใช้ Chatbot สนับสนุนงานสอบสวนกรณีศึกษาสถานีตำรวจภูธรเบตง. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

ฐาปนี เพ็งสุข. (2562). การจัดการระบบฐานข้อมูลเพื่องานธุรกิจ. อุดรธานี: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ทิพาพร ฉันชัยพัฒนา. (2556). ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อแอพพลิเคชั่น "ไลน์" (LINE) ในรูปแบบของการสื่อสารผ่านบัญชีอย่างเป็นทางการ (Official accounts LINE). (วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ธนัทร บุศราทิศ. (2559). อิทธิพลของการสื่อสารเนื้อหาโปรแกรมลูกค้าสัมพันธ์ผ่านสื่อ Chatbot ต่อระดับการมีส่วนร่วมของลูกค้า. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

นฤมล วุฒิภาพภิญโญ. (2564). ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการ Chatbot. (การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).

นันธิดา ปฏิวรณ์, ภาณุพงศ์ บุญรมย์ และ พงษ์ธร สิงห์พันธ์. (2564). รูปแบบการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(5), 1927-1939.

พิสณุ ฟองศรี. (2553). เทคนิควิธีประเมินโครงการ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.

ภัสรา พงษ์สุขเวชกุล. (2554). เทคโนโลยีสื่อใหม่กับการสื่อสารในครอบครัวในเขตกรุงเทพมหานคร. (นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต).

วิชุดา ไชยศิวามงคล, เยาวลักษณ์ สมพงษ์, สุชิราภรณ์ สุนทรภักดิ์ และ สุธารัตน์ พิทยาวัฒนชัย. (2565). การพัฒนาไลน์แชทบอทสำหรับห้องสมุดอัตโนมัติ สำนักงานคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 30(6), 1-18.

ศิริมา นุ้ยไม. (2557). การพัฒนาคู่มือการใช้เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อการสอนของครูเครือข่ายสมุย 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี).

สมนึก ภัททิยธนี. (2551). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ประสานการพิมพ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปี 2565. สืบค้น 20 กันยายน 2565. จาก https://www.spmsnicpn.go.th/th/main.php?page=home.

สุนิสา ศรแก้ว. (2561). การยอมรับเทคโนโลยี Chatbot ในธุรกิจธนาคารในประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2555). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis and Design) (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Dennis, A., & Wixom, B. (2000). Systems Analysis and Design: An Applied Approach. New York: John Wiley & Sons.

Gartner. (2017). Hype Cycle for Data Science and Machine Learning. Retrieved 25 June 2022. from https://www.dataversity.net/2017-machine-learning-trends/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28