การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนวิถีประมงพื้นบ้าน

ผู้แต่ง

  • ชุมพล รอดแจ่ม วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ประเทศไทย
  • ปัญญดา จันทกิจ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ประเทศไทย
  • เอกโอฬาร โชติอนุสรณ์ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ประเทศไทย
  • วุฒิพงศ์ จันทร์เมืองไทย วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของชุมชน, การพัฒนา, แหล่งท่องเที่ยวชุมชน, วิถีประมงพื้นบ้าน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมชุมชนในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนวิถีประมงพื้นบ้าน และ (2) เพื่อสร้างแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนวิถีประมงพื้นบ้าน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสนทนากลุ่ม จากผู้ให้ข้อมูลหลัก 10 คน ซึ่งเป็นสมาชิกชุมชนบ้านหัวแหลม หมู่ 7 ตำบลสนามไชย อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี ผลการศึกษาพบว่า การสร้างแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชน ควรมีส่วนร่วมจากภาคีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน และสมาชิกในชุมชน เพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชนในการสร้างแหล่งท่องเที่ยววิถีประมงพื้นบ้าน และสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยมีส่วนประกอบของแนวทาง ได้แก่ ชุมชนต้องมีการจัดทำองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เพื่อถ่ายทอดให้กับสมาชิกในชุมชน ควรนำทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคมและทรัพยากรต่างๆ ในชุมชน เพื่อนำมาร่วมในการขับเคลื่อนในการผลักดันการท่องเที่ยวของชุมชนวิถีประมงพื้นบ้าน รวมถึงการกำหนดแนวทางหรือกฎระเบียบเพื่อเป็นข้อกำหนดหรือกฎของชุมชน ชุมชนควรมีการกำหนดตลาดเพื่อเป็นแหล่งที่แน่นอนในการนำสินค้าไปจำหน่าย ควรรวมกลุ่มวิสากิจหรือกลุ่มแม่บ้าน เพื่อนำวัตถุดิบต่างๆ ที่หาได้ในชุมชนมาทำการแปรรูปให้มีความหลากหลายในผลิตภัณฑ์ ควรมีการฝึกอาชีพ หรืออบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้พื้นที่ชายฝั่งเพื่อประกอบอาชีพ การประชาสัมพันธ์ การตลาด รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน และควรมีการส่งเสริมการประชาสัมพันธ์โดยทำความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนเพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ ผ่านช่องทางต่างๆ

References

เกศสุดา โภคานิตย์, กีฬา หนูยศ, ฐปราย์ ชัยสินคุณานนต์ และ กมลชัย บัวสาย. (2562). ศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากโดยแนวทางประชารัฐตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วมในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(3), 278-289.

นาตยา เกตุสมบูรณ์ และ วันทนา เนาว์วัน. (2562). ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาหมู่บ้านท่องเที่ยว หมู่บ้านหนองสรวง ตำบลกระแซง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 25(1), 81-93.

ปุณยวีร์ วิเศษสุนทรสกุล, ชวลีย์ ณ ถลาง, ชมพูนุช จิตติถาวร และ สหนนท์ ตั้งเบญจสิริกุล. (2563). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 10(3), 22-33.

พจนา สวนศรี และ สมภพ ยี่จอหอ. (2556). คู่มือมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน. เชียงใหม่: สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT-I).

พิศิษฐ ตัณฑวณิช และ พนา จินดาศรี. (2561). ความหมายที่แท้จริงของค่า IOC. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(2), 3-12.

ศิริพรรณ หุตะโชค, สุภาภรณ์ สงค์ประชา, วิลาสินี อโนมะศิริ และ คนางค์ คันธมธุรพจน์. (2562). วิถีชีวิตของชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดสมุทรสาคร ภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20 วันที่ 15 มีนาคม 2562 (น. 1571-1582). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สิทธิชัย ศรีเจริญประมง, นภดล แสงแข, นิศารัตน์ แสงแข และ ณัฐวรรธน์ วิวัฒน์กิจภูวดล. (2564). การพัฒนาตลาดของสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นประมงสู่การท่องเที่ยวในช่วงการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในจังหวัดระยอง. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 9(1), 140-149.

สุนิษา กลิ่นขจร. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยววิถีถิ่น วิถีไทยเพื่อสร้างอัตลักษณ์ใหม่ ของเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองร้อยเกาะ. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

หทัยชนก คะตะสมบูรณ์. (2563). การพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านสวนพลู-พุต่อ ตำบลทัพหลวง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี (รายงานการวิจัย). นครสวรรค์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

เอื้อมพร หลินเจริญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา, 17(1), 17-29.

Phanthavong, A. (2009). The potential of ecotourism to contribute to local sustainable development: a case study in Kiet Ngong village in Xe Pian National Protected Area, Lao PDR. (Doctoral dissertation, Massey University).

Trip.com. (2023). 25 ที่เที่ยวจันทบุรี 2565 เที่ยวได้ไม่มีเบื่อในวันหยุด. สืบค้น 19 ตุลาคม 2566. จาก https://th.trip.com/hot/articles/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-31