ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในประเทศไทยช่วงวิกฤติโควิด-19

ผู้แต่ง

  • วัสกรณ์ มณีนาคทอง เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประเทศไทย
  • ปริณภา จิตราภัณฑ์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประเทศไทย

คำสำคัญ:

โควิด-19, พฤติกรรม, สายการบินต้นทุนต่ำ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทยในช่วงวิกฤติโควิด-19 และ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อพฤติกรรมการใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในประเทศไทยช่วงวิกฤติโควิด-19 เป็นการศึกษาเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการสายการบินต้นทุนในช่วงวิกฤติโควิด-19 จำนวน 400 คน ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทยในช่วงวิกฤติโควิด-19 ส่วนใหญ่เพื่อการท่องเที่ยว/พักผ่อน ผู้เดินทางตัดสินใจเดินทางด้วยตนเอง ส่วนใหญ่ได้รับวัคซีน 3 โดรส มีระยะเวลาการท่องเที่ยวเฉลี่ย 2-3 วัน มีความถี่ที่ใช้บริการทั้งก่อนและระหว่างเกิดวิกฤติโควิด-19 น้อยกว่า 2 ครั้งต่อปี มีงบประมาณเฉลี่ยต่อการเดินทางท่องเที่ยว 5,001-10,000 บาท และนิยมท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในประเทศไทยช่วงวิกฤติโควิด-19 พบว่า ในส่วนของอิทธิพลทางตรง ปัจจัยด้านสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และปัจจัยด้านกลยุทธ์การตลาดของสายการบิน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการใช้บริการ ส่วนปัจจัยด้านมาตรการจากภาครัฐในแง่มุมของการควบคุม และปัจจัยด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่มีอิทธิพลทางตรงอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนปัจจัยของอิทธิพลทางอ้อม พบว่า ปัจจัยด้านสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มาตรการจากภาครัฐในแง่มุมของการควบคุม และมาตรการจากภาครัฐในแง่มุมของการกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในประเทศไทยช่วงวิกฤติโควิด-19

References

กองวิจัยการตลาดการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2564). โครงการศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยจากสถานการณ์โควิด-19. กรุงเทพฯ: อิมเมจ ควอลิตี้แล็บ.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. กรุงเทพฯ: สามลดา.

งานโรคติดต่ออุบัติใหม่ กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. สืบค้น 28 สิงหาคม 2564. จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf.

ญาณวรุตม์ ธนพัฒน์เจริญ. (2564). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำของตั๋วเครื่องบินภายในประเทศเพื่อการท่องเที่ยวในช่วงวิกฤตโควิค-19. (การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2566ก). งบการเงิน บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน). สืบค้น 18 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.set.or.th/th/market/product/stock/quote/AAV/financial-statement/company-highlights.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2566ข). งบการเงิน บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน). สืบค้น 18 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.set.or.th/th/market/product/stock/quote/NOK/financial-statement/company-highlights.

ถวิล นิลใบ. (2559). เศรษฐมิติประยุกต์ (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. (2564). วิถีชีวิตปกติแบบใหม่ภายหลังการระบาดใหญ่โควิด-19: กรณีศึกษาธุรกิจยานยนต์และธุรกิจการบินกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 35(2), 179-196.

บวรลักษณ์ เกื้อสุวรรณ, วรรณี สุทธใจดี และ ผกามาศ มุสิกะมาศ. (2565). แนวโน้มชีวิตวิถีใหม่ในธุรกิจการบินหลังสถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อสายการบินกับส่วนประสมทางการตลาด. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 18(4), 58-75.

มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด, อัครพงศ์ อั้นทอง, พรทิพย์ เธียรธีรวิทย์, กุลดา เพ็ชรวรุณ และ นุกุล เครือฟู. (2556). เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการท่องเที่ยว. เชียงใหม่: ล๊อคอินดีไซน์เวิร์ค.

สำนักข่าว TODAY. (2565). ทำไม ‘ไทยเวียตเจ็ท’ ถึงลุยธุรกิจใหม่ แพลตฟอร์มจองท่องเที่ยว Skyfun.travel. สืบค้น 24 พฤศจิกายน 2566. จาก https://workpointtoday.com/why-thai-vietjet-go-into-travel-booking-platform/.

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2564ก). รายงานสภาวะอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย พ.ศ. 2563. สืบค้น 29 สิงหาคม 2564. จาก https://www.caat.or.th/th/archives/57599.

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2564ข). สถิติการขนส่งทางอากาศของประเทศไทย ประจำปี 2019 และ 2020. สืบค้น 29 สิงหาคม 2564. จาก https://www.caat.or.th/th/archives/category/data-research-th/air-traffic-th/transport-statistics-th.

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2565). สถิติการขนส่งทางอากาศของประเทศไทยประจำปี 2021. สืบค้น 24 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.caat.or.th/th/archives/64805.

Hotle, S., & Mumbower, S. (2021). The impact of COVID-19 on domestic U.S. air travel operations and commercial airport service. Transportation Research Interdisciplinary Perspectives, 9(100277), 1-8.

International Civil Aviation Organization. (2021). Economic Impacts of COVID-19 on Civil Aviation. Retrieved 4 September 2021. from https://www.icao.int/sustainability/Documents/COVID-19/ICAO_Coronavirus_Econ_Impact.pdf.

Song, K. H., & Choi, S. (2020). A study on the behavioral change of passengers on sustainable air transport after covid-19. Sustainability, 12(21), 1–18.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-14