บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2

ผู้แต่ง

  • ปนัฏฐา สุนทรมัจฉะ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ประเทศไทย
  • กัญญ์รัชการย์ เลิศอมรศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ประเทศไทย

คำสำคัญ:

บทบาท, ผู้บริหารสถานศึกษา, คุณภาพผู้เรียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 (2) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทผู้บริหารและคุณภาพผู้เรียน และ (4) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 จำนวน 315 คน แบ่งเป็น 3 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทผู้บริหารสถานศึกษา ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก คุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 โดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทผู้บริหารและคุณภาพผู้เรียนอยู่ในระดับมาก และบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ได้แก่ บทบาทเป็นผู้บริหารบุคคล บทบาทความเป็นผู้กระตุ้น ความเป็นผู้นำ บทบาทเป็นผู้ประเมินผล บทบาทเป็นนักวางแผน และบทบาทเป็นผู้สื่อสารผู้บริหารบุคคล ร่วมกันพยากรณ์แปรปรวน ของการดำเนินงานคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ได้ร้อยละ .631 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กชพรพรรณ สุทธิหิรัญพงศ์. (2562). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากร ทางการศึกษา เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 อำเภอ ของจังหวัดสงขลา. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่).

ณภิญรัตน์ ทัพขวา. (2557). การมีส่วนร่วมของโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

นิวัฒน์ สินไชย. (2560). การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. (2563). คู่มือแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2563-2565). นนทบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2556). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 มาตราที่ 39. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580 (ฉบับย่อ). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุกัญญา คุ้มกลาง. (2553). การดำเนินงานการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรม สหกรณ์โรงเรียนขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

อรวรรณ ภัทรดำเนินสุข. (2564). ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28