การวิเคราะห์เปรียบเทียบการลงทุนทางการเงินของการเลี้ยงจิ้งหรีดในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อรุณี การะเกตุ นิสิตบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาธุรกิจการเกษตร ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • จักรกฤษณ์ พจนศิลป์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ศานิต เก้าเอี้ยน ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

จิ้งหรีด, การลงทุนทางการเงิน, ความคุ้มค่าของการลงทุน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดภายใต้มาตรฐาน GAP และแบบทั่วไป ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น และ (2) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความคุ้มค่าการลงทุนทางการเงินภายใต้มาตรฐาน GAP และแบบทั่วไปของการเลี้ยงจิ้งหรีดในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เกษตรกรโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 20 ตัวอย่าง จากการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดแบบทั่วไป 10 ตัวอย่าง และผู้เลี้ยงที่ปฏิบัติตามมาตรฐาน GAP 10 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดภายใต้มาตรฐาน GAP และแบบทั่วไป ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 40 ปี มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และมีประสบการณ์ในการเลี้ยงจิ้งหรีดเฉลี่ย 5 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงจิ้งหรีดเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้เสริม โดยจำหน่ายให้กับพ่อค้าคนกลางและโรงงานแปรรูป การลงทุนเลี้ยงจิ้งหรีดภายใต้มาตรฐาน GAP มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ เท่ากับ 576,558.68บาท อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อค่าใช้จ่าย เท่ากับ 1.27 และอัตราผลตอบแทนภายใน เท่ากับ 84% สำหรับการลงทุนเลี้ยงจิ้งหรีดแบบทั่วไป มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ เท่ากับ 237,223.77 บาท อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อค่าใช้จ่าย เท่ากับ 1.18 และอัตราผลตอบแทนภายใน เท่ากับ 104% จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการลงทุนเลี้ยงจิ้งหรีดภายใต้มาตรฐาน GAP ให้ผลตอบแทนทางการเงินที่ดีมากกว่าแบบทั่วไป แต่ยังคงมีความเสี่ยงในในเรื่องต้นทุนการผลิตที่มีต้นทุนสูง ดังนั้นจึงควรมีการรวมกลุ่มเพื่อประสานงานกับหน่วยงานราชการให้เข้ามาช่วยส่งเสริมพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อช่วยลดต้นทุนซึ่งจะได้ผลตอบแทนสุทธิที่ดีขึ้น

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564). การเลี้ยงจิ้งหรีดเพื่อการค้า. สืบค้น 2 ธันวาคม 2565. จาก https://esc.doae.go.th/cricket/.

ชนม์ณัฐชา กังวานศุภพันธ์. (2562). การวิเคราะห์และประเมินองค์ประกอบการจัดการโซ่อุปทานของผู้ประกอบการธุรกิจฟาร์มจิ้งหรีด: กรณีศึกษาจังหวัดสุรินทร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 10(2), 213-242.

ชนะพงษ์ ชฎาวงศ์. (2550). การวางแผนเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจฟาร์มเลี้ยงจิ้งหรีด: กรณีศึกษา ฟาร์มเลี้ยงจิ้งหรีดบ้านหนองภัยศูนย์ ตำบลหนองภัยศูนย์ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ปี 2549. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ณรงค์ศักดิ์ เรืองสุริยา. (2533). การจัดการธุรกิจฟาร์มเลี้ยงจิ้งหรีด ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ณัฐเสฏฐ์ สร้อยทองดี และ นภาพร นิลาภรณ์กุล. (2562). ต้นทุนและผลตอบแทนในการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดเชิงพาณิชย์. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข, 12(1), 165-186.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2560). ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร: การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มจิ้งหรีด ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551. สืบค้น 2 ธันวาคม 2565. จาก https://www.acfs.go.th/standard/download/GUIDANCE_GAP_CRICKET_FARM.pdf.

สิริศักดิ์ ชีช้าง และ กัตติเนตร สกุลสวัสดิวงศ์. (2563). การจัดการผลิตและการประเมินด้านสุขอนามัยเพื่อพัฒนามาตรฐานการเลี้ยงแมลงกินได้ในจังหวัดนครศรีธรรมราช (รายงานการวิจัย). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28