ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผักไฮโดรพอนิกส์ทางออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • วรธร ศิริวรรณ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ศักดิ์สิทธิ์ บุศยพลากร ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การตัดสินใจซื้อ, ผักไฮโดรพอนิกส์, ช่องทางออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมผู้บริโภคที่ซื้อผักไฮโดรพอนิกส์ทางออนไลน์ (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดของผู้ซื้อผักไฮโดรพอนิกส์ทางออนไลน์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลการตัดสินใจซื้อผักไฮโดรพอนิกส์ทางออนไลน์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามจากประชากรที่เคยซื้อและผู้ที่ไม่เคยซื้อแต่สนใจซื้อผักไฮโดรพอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ไคสแควร์ และการวิเคราะห์แบบจำลองโลจิสติกแบบทวิและแบบจำลองโพรบิทแบบทวิ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 18 - 34 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 - 40,000 บาท ซึ่งมีพฤติกรรมซื้อผักประเภทบริโภคสด ซื้อผ่านช่องทาง Facebook และ Grabfood และมีค่าใช้จ่ายในการซื้อแต่ละครั้ง 150 - 300 บาท ทั้งนี้จากผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อาชีพ รายได้ ระดับการศึกษา และสถานภาพครอบครัวมีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผักไฮโดรพอนิกส์ทางออนไลน์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา ด้านช่องทาง Social Media ด้านช่องทาง Website และช่องทางออนไลน์อื่นๆ ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านส่งเสริมการตลาด ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผักไฮโดรพอนิกส์ทางออนไลน์ในทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ตามปัจจัยด้านเพศ ด้านช่องทางชำระเงิน ด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อ ด้านช่วงเวลาที่ซื้อทางออนไลน์ และด้านลักษณะกายภาพส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผักไฮโดรพอนิกส์ทางออนไลน์ในทิศทางตรงข้ามกัน

References

จักรพันธ์ อันสน. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์กลุ่ม Generation Z ในกรุงเทพมหานคร. สืบค้น 22 มีนาคม 2566. จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/vlt16/6414991218.pdf.

จารุวรรณ บุญเหมาะ, ประวีร์โคกเกษม, ฐิติวัฒน์คล้ายจันทร์พงศ์ และ สุชาดา แสงดวงดี. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสนใจซื้อผักไฮโดรพอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตนครปฐม. ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 11 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 11 – 12 กรกฎาคม 2562 (น. 774-784). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.

ทิพวรรณ สะท้าน, พนามาศ ตรีวรรณกุล และ เมตตา เร่งขวนขวาย. (2564). การตัดสินใจของผู้บริโภคต่อการซื้อสินค้าเกษตรออนไลน์. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 52(1), 11-19.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2549). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: วิทยาออฟเซทการพิมพ์.

พิชญาพรรณ วงศ์สุวรรณ์. (2563). พฤติกรรมการบริโภคที่มีผลต่อปัจจัยการตัดสินใจบริโภคอาหารเจและ มังสวิรัติที่จำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์. สืบค้น 22 กันยายน 2565. จาก http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7504.

รุ่งนภา ชัยธนฤทธิ์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนทางช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).

วานิสา บำรุงธรรม. (2560). แผนธุรกิจร้านไอรินฟาร์มไฮโดรพอนิกส์ผ่านช่องทางออนไลน์. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

วิชชุพงศ์ ชัยวิชยานันท์. (2564). แผนธุรกิจฟาร์มผักไฮโดรพอนิกส์. (การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย. (2564). พฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผักปลอดภัยผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการตลาดหลากช่องทางของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. RMUTT Global Business and Economics Review, 16(2), 141-154.

ศิริรัตน์ สารแสง, กิตติศักดิ์ รสโสดา, กัญญารัตน์ โคตรชมพู และ อรรถศาสตร์ วิเศียรศาสตร์. (2562). พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคผักไฮโดรพอนิกส์ในเขตอำเภอเมืองอุดรธานีจังหวัดอุดรธานี. วารสารเกษตรพระวรุณ, 16(1), 129-141.

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี. (2563). การปลูกพืชไร้ดินด้วยระบบไฮโดรพอนิกส์ (Hydroponics). สืบค้น 20 สิงหาคม 2565. จาก https://www.opsmoac.go.th/saraburi-article_prov-preview-421691791815.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข. (2558). ลด เลี่ยง อย่างไร สารพิษตกค้างในผักผลไม้. สืบค้น 21 สิงหาคม 2565. จาก https://www.db.oryor.com/databank/data/radio/documentary_text.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2563). ETDA เผย คน Gen -Y สั่งอาหารออนไลน์มากสุด และกว่า 40% สั่งเพราะหวั่นโควิด-19. สืบค้น 12 มีนาคม 2563. จาก https://www.etda.or.th/content/online-food-delivery-survey-during-the-prevention-of-covid-19.html.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). โควิดดันผู้บริโภคจ่ายผ่านตลาดออนไลน์เพิ่ม มีนาคม ยอดขายสินค้าเกษตร พุ่งกว่า 45 ล้านบาท. สืบค้น 26 ตุลาคม 2565. จาก https://www.oae.go.th/.

BLTbangkok. (2561). เทรนด์สุขภาพมาแรง คนเมืองยุคใหม่ตั้งเป้าชีวิตดีมีสุข. สืบค้น 15 ตุลาคม 2565. จาก https://www.bltbangkok.com/bangkok-update/4405.

ETDA. (2563). ETDA เผยคน Gen -Y สั่งอาหารออนไลน์มากสุด และกว่า 40% สั่งเพราะหวั่นโควิด-19. สืบค้น 20 ตุลาคม 2566. จาก https://www.etda.or.th/th/https/www-etda-or-th/th/newsevents/pr-news/Online-Food-Delivery-Survey-2020.aspx.

ETDA. (2564). ETDA เผยผลสำรวจ IUB 63 คนไทยใช้เน็ตปังไม่ไหว เกือบครึ่งวัน โควิด-19 มีส่วน. สืบค้น 15 ตุลาคม 2565. จาก https://www.etda.or.th/th/newsevents/pr-news/ETDA-released-IUB-2020.aspx.

Marketingoops. (2564). เผยอินไซต์ Food delivery ช่วงโควิดระลอก 3 ‘ใครคือลูกค้าหลัก-เมนูไหนฮิต-ช่วงใดขายดีสุด’ และ ‘ร้านอาหารควรปรับตัวอย่างไร. สืบค้น 3 ตุลาคม 2566. จาก https://www.marketingoops.com/news/insight-food-delivery-covid-19/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28