คุณลักษณะของผู้จัดการสหกรณ์และประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ออมทรัพย์ กรณีศึกษาสหกรณ์ออมทรัพย์ในมหาวิทยาลัย
คำสำคัญ:
คุณลักษณะของผู้จัดการสหกรณ์, ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ, สหกรณ์ออมทรัพย์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์คุณลักษณะของผู้จัดการสหกรณ์ ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการบริหารงานสหกรณ์ออมทรัพย์ และ (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจมาตรการกำกับดูแลของภาครัฐกับประสิทธิภาพของการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นการวิจัยรูปแบบผสม โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล จากแบบสอบถาม และ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ประชากรใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย สหกรณ์ออมทรัพย์ในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ จำนวน 46 สหกรณ์ ผลการศึกษาพบว่า คุณลักษณะของผู้จัดการสหกรณ์ที่ควรมี คือ มีความรู้ทางด้านสหกรณ์ สามารถวางแผนและกำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป มีความเป็นผู้นำ มีทักษะการสื่อสารที่ดีมีประสิทธิภาพ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความอดทนและเสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรในองค์กร และมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนความพึงพอใจต่อมาตรการกำกับดูแลของภาครัฐ พบว่าในภาพรวมมีความพึงพอใจระดับปานกลาง โดยส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าการกำหนดมาตรการกำกับดูแลของภาครัฐมีส่วนช่วยในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับสมาชิก แต่มีบางส่วนที่ให้ข้อคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับมาตรการกำหนดอายุของผู้จัดการในการสิ้นสุดสัญญาจ้าง อาจจะไม่สัมพันธ์กับสภาพสังคมไทยที่กำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อีกทั้งความรู้ความสามารถของผู้จัดการสหกรณ์เกิดจากการสะสมความรู้และประสบการณ์ในการทำงานสหกรณ์ อาจทำให้สหกรณ์ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ
References
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2552). โครงการพัฒนาระบบประเมินประสิทธิภาพการดําเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ด้วยแบบจําลอง Data Envelopment Analysis. สืบค้น 10 มีนาคม 2566. จาก https://www.cad.go.th/ewtadmin/ewt/statistic/download/dea51_mini.pdf.
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2563). แผนปฏิบัติราชการของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2563-2565). กรุงเทพฯ: สำนักแผนงานและโครงการพิเศษ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์.
กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2565). ทำเนียบสหกรณ์. สืบค้น 10 มีนาคม 2566. จาก www.cpd.go.th/ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2566). ร่างข้อบังคับสหกรณ์ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. สืบค้น 10 มีนาคม 2566. จาก https://cpd.go.th/knowledge/general-coop/item/4748-draft-law-coop.htm.
กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2566). สาระความรู้สหกรณ์ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. สืบค้น 10 มีนาคม 2566. จาก https://cpd.go.th/knowledge/general-coop/item/39-meaning-coop.html.
คมกฤช จองบุญวัฒนา. (2564). คัมภีร์ผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: บริษัทเอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.
จุฑาทิพย์ ภัทราวาท. (2556). การจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด.
เฉลิมเจษฎ์ สมานุหัตถ์. (2563). คุณลักษณะหลักของผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ, 1(1), 108-119.
เชิญ บำรุงวงศ์. (2542). สหกรณ์ออมทรัพย์ จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย
ดวงเดือน จันทร์เจริญ. (2549). การใช้ Competency พัฒนาบุคลากร. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. 2(1), 304-314.
ปัทมา ซาตะนัย. (2565). การศึกษาคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ภาคการเกษตร. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
ภูศิษฏ์ จารุพรสิน. (2547). คุณสมบัติของผู้จัดการที่มีประสิทธิภาพในทัศนคติของเจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้).
ราชกิจจานุเบกษา. (2542). เล่มที่ 116 ตอนที่ 30 ก, หน้า 14.
ราชกิจจานุเบกษา. (2553). เล่มที่ 127 ตอนที่ 15 ก, หน้า 4.
ราชกิจจานุเบกษา. (2562). เล่มที่ 136 ตอนที่ 34 ก, หน้า 28, 30, 32.
ราชกิจจานุเบกษา. (2564). เล่มที่ 138 ตอนที่ 11 ก, หน้า 43.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และ อัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัย (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.
สมชาย หิรัญกิตติ. (2542). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.