สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2

ผู้แต่ง

  • ประนิดา รัตนแสนศรี มหาวิทยาลัยธนบุรี ประเทศไทย
  • กฤตฎิ์ กิตติฐานัส มหาวิทยาลัยธนบุรี ประเทศไทย

คำสำคัญ:

สมรรถนะของผู้บริหาร, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, โรงเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 (2) เพื่อศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 และ (3) เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 2 ประชากร ได้แก่ ครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 จำนวน 1,633 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 321 คน ได้จากการคำนวณโดยใช้สูตรของ Taro Yamane สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นจำแนกตามอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมทางสถิติด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 พบว่า สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ในภาพรวมอยู่ระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า สมรรถนะในการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ สมรรถนะในการตระหนักรับรู้โลกาภิวัตน์ และลำดับสุดท้าย คือ สมรรถนะในการทำงานเป็นทีม ตามลำดับ (2) ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปรับปรุง เมื่อจำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ เรียงลำดับคะแนนค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ระดับพอใช้ รองลงมาได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับปรับปรุง และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ระดับปรับปรุง (3) ผลการวิเคราะห์สมรรถนะของผู้บริหารส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ดาวนภา หัทยานนท์ .(2557). การศึกษาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารระดับกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคใต้. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ธชวรรณ สุทธาธาร. (2556). สมรรถนะผู้บริหารกับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมศึกษา เขต2. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

นลพรรณ ศรีสุข. (2558). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหาร สถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี).

ปาริฉัตร ช่อชิต. (2559). สมรรถนะผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

พิชามญชุ์ ลาวชัย. (2562). สมรรถนะผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

มะลิวรรณ ระฆังทอง. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลการทดอสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์).

วิไลพร ศรีอนันต์. (2559). สมรรถนะผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลโรงเรียนเอกชนจังหวัด นครปฐม. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. (2564). รายงานผลการจัดการศึกษา ปีการศึกษา 2564. นครปฐม: ทองบุญการพิมพ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. (2566). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน. นครปฐม: ทองบุญการพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). สรุปผลการดำเนินงาน 9 ปีของการปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ.2542-2551). กรุงเทพฯ: วีทีซีคอมมิวเนเคชั่น.

สำนักงานสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Hellriegel, D., Jackson, S. E., & Slocum, J. W. (2005). Management: A competency-based approach. (10th ed.). South-Western: Thomson Learning.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Attitude Theory and Measurement. (pp.90-95). New York: Wiley & Son.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. (3rd ed.). New York: Harper. & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28