ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • ธนพล วรรณโสภา มหาวิทยาลัยธนบุรี ประเทศไทย
  • สุภัทรศักดิ์ คำสามารถ มหาวิทยาลัยธนบุรี ประเทศไทย

คำสำคัญ:

บทบาทของผู้บริหาร, การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, โรงเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาสมุทรสาคร (2) ศึกษาระดับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาสมุทรสาคร และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารกับการใช้เทคโนโลยีสารเทศในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาสมุทรสาคร ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน โรงเรียนสังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2565 รวมทั้งสิ้นจำนวน 2,273 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro - Yamane จำนวน 340 คน เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมทางสถิติด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีของเพียสัน การวิเคราะห์โดยใช้สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามตารางเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบทบาทเป็นผู้ประชาสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านบทบาทเป็นนักเจรจาต่อรอง ส่วนด้านบทบาทเป็นผู้นำองค์การ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามตารางเป็นรายด้าน พบว่า ด้านด้านหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านการใช้ ICT เป็นฐานในการเรียนรู้ ส่วนด้านด้านการพัฒนาบุคลากร มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาครพบว่า บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ .979

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). “แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 12” 2560 ฉบับที่ 12 (2560). กรุงเทพฯ: สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

ณัฐกรณ์ หิรัญชาติ .(2556). บทบาทผู้บริหารกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานศึกษา. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่10), กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พรนิดา กีรติวิทยาภรณ์. (2554). การบริหารของผู้บริหารกับมาตรฐานด้านกระบวนการทาง การศึกษาของสถานศึกษาสังกัดเทศบาล กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ลัดดาวัลย์ พัวพันวัฒนะ. (2564). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี).

วริญญาภัทร์ สุภาศิริธนานนท์. (2563). บทบาทผู้บริหำรกับบรรยากาศองค์กรของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

วัชราภรณ์ คงเกิด. (2561). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาของครูในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี).

ศศิกาญจน์ แปงงามนวกุล. (2561). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศทางการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ. สมุทรสาคร: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร.

Farren, C., & Kaye, B. L. (1996). New skills for new leadership roles. In The leader of the future, (pp. 175-187). New York: The Drucker Foundation.

Likert, R. (1993). A Technique for the Measurement of Attitude. Chicago: Read Mc. Nally.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. (3rd ed.). New York: Harper. & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28