ความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อองค์กร : กรณีศึกษา บริษัท บีสไพพ์ฟิตติ้งอินดัสตรี จำกัด ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • กวินธิดา หมื่นนรินทร์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ประเทศไทย
  • ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, พนักงาน, องค์กร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของพนักงานคนไทยที่มีต่อบริษัท บีสไพพ์ฟิตติ้งอินดัสตรีจำกัด และ (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของพนักงานคนไทยที่มีต่อบริษัท บีสไพพ์ฟิตติ้งอินดัสตรีจำกัด ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรคือพนักงานคนไทยของบริษัทบีสไพพ์ฟิตติ้งอินดัสตรี จำกัด จำนวน 202 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า F-test เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจ เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงทดสอบรายคู่ โดยวิธี LSD ผลการศึกษาพบว่า พนักงานส่วนใหญ่เป็นชาย อายุ 26-35 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษา ปวส. มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนละ10,000-15,000 บาท ความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อองค์กรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการองค์กร ด้านความปลอดภัยในการทำงาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง คือด้านสภาพแวดล้อม ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ตามลำดับ จากการศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างทางเพศที่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ว่าอายุ การศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในบางด้าน

References

ณัฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2547). ศักยภาพในการแข่งขันและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: บุญลือ.

บริษัท บีสไพพ์ฟิตติ้งอินดัสตรี จำกัด. (2566). บริษัท บีสไพพ์ฟิตติ้งอินดัสตรี จำกัด. สืบค้น 5 มกราคม 2566. จาก https://www.bisfitting.com/.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2543). ความพึงพอใจในการทำงานของบุคคลในองค์กร. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

ยุทธพงษ์ จักรคม, สุวรรณนภา สุ่ยวงษ์ และ ดวงดาว ประทิพย์ อาราราม. (2564). อิทธิพลของความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ที่มีผลต่อความผูกพันของบุคลากร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์, 5(2), 71-96.

รัศมี อิสลาม. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานและส่งผลให้เกิดความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา : พนักงานส่วนงานภาคพื้นดิน สายการบินไทยไลอ้อนแอร์. (การจัดการมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2536). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28