ลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ วิถีใหม่ ที่ส่งผลต่อการจัดบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • เฉลิมพล วงษ์สวัสดิ์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย
  • ปัญนิภา ปริญญเสวี สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย
  • อนันต์ บินสุวรรณ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย
  • วิไลรัตน์ บรรจงเลิศ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย
  • ธรรศพงศ์ วงษ์สวัสดิ์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย
  • อธิพงษ์ คิดดี สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ, วิถีใหม่, การจัดบริการสาธารณะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาคุณค่าของประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟวิถีใหม่ (2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการจัดบริการสาธารณะช่วงเทศกาลประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟวิถีใหม่ และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะในช่วงการจัดงานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟวิถีใหม่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่เข้าชมงานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ ประจำปีพุทธศักราช 2566 จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การทดสอบถดถอยพหุคูณ และทดสอบสมมติฐานการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า คุณค่าของประเพณีลอยกระทง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความเชื่อ ประสิทธิภาพการจัดบริการสาธารณะช่วงเทศกาลประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟวิถีใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ความสัมพันธ์ปัจจัยคุณค่าของประเพณีลอยกระทง ด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้านการสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี ด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้านความสามัคคี และด้านความเชื่อ มีผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะในช่วงการจัดงานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟวิถีใหม่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย โดยมีสมการทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ (R2=.988) ร้อยละ 98.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กตัญญู เรือนตุ่น, พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์, พระมหาอังคาร ญาณเมธี, ปุระวิชญ์ วันตา และ ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ์. (2562). แนวทางการส่งเสริมอัตลักษณ์วัฒนธรรมประเพณีเชิงพุทธล้านนาของจังหวัดลำปาง. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 10(2), 429-446.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2550). สรุปสาระสำคัญมาตรฐานการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2566 (Tourism Statistics 2023). สืบค้น 1 ตุลาคม 2566. จาก https://www.mots.go.th/news/category/704.

คัชพล จั่นเพชร. (2564). การพัฒนาแนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสุโขทัย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 10(2), 11-24.

เฉลิมพล ศรีทอง และ ธีรพงษ์ เที่ยงสมพงษ์. (2564). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองมรดกโลก และเมืองสร้างสรรค์โลก โดยชุมชนเมืองเก่าสุโขทัย สำหรับฐานวิถีชีวิตใหม่หลังสถานการณ์โควิด 19. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 15(2), 103-114.

ณวิญ เสริฐผล. (2563). การดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นในสังคมโลกาภิวัตน์. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 5(2), 314-331.

ณัฐพร ภูแต้มนิล, เสาวลักษณ์ นิกรพิทยา, สิทธิพรร์ สุนทร และ ภัณฑิลา น้อยเจริญ. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกรณีศึกษาวัดแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดกาฬสินธุ์. Journal of Modern Learning Development, 7(8), 269-286.

ทรงคุณ จันทจร, พิสิฏฐ์ บุญไชย และ ไพรัช ถิตย์ผาด. (2552). คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นกับการนำมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้. มหาสารคาม: สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิภาวรรณ เจริญลักษณ์. (2566). การศึกษากับการพัฒนาชุมชนสู่ความยั่งยืน: การสืบสานประเพณีลอยกระทงของตำบลเบิกไพร อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(8), 30-42.

พระครูภาวนาโสภิต, พระสมนึก ทับโพธิ์, นิกร ยาอินตา, ประเด่น แบนปิง และ สราวุฒิ วะสารชัย. (2565). นวัตกรรมเพื่อการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของจังหวัดลำพูน. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 8(3), 25-40.

พระณัฐกิจ ฐิตเมธี (อิมัง). (2564). การศึกษาความเชื่อเรื่องการถวายประทีปของชาวพุทธในล้านนา. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์, 5(1), 22-31.

พุทธชาติ ภู่ทับทิม. (2560). คุณภาพการให้บริการสาธารณะด้านระบบประปาหมู่บ้านขององค์การบริหารส่วนตำบลวังใหม่ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัย. (2566). ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2566. จาก https://www2.m-culture.go.th/sukhothai/main.php?filename=index.

สุธินี เหรียญเครือ และ พิษณุ เฉลิมวัฒน์. (2566). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 307-318.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย. (2566). ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาท้องถิ่น. สืบค้น 19 ตุลาคม 2566. จาก http://sukhothaipao.go.th/public/.

อดิลักษณ์ พุ่มอิ่ม. (2566). การวิเคราะห์เส้นทางปัจจัยองค์ประกอบ ศักยภาพในการดึงดูดใจและการรองรับด้านการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ในจังหวัดปราจีนบุรี. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 18(1), 16-34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-02